วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

สันติภาพออนไลน์

 อบจ.พิษณุโลก ร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 (กรอ.กลุ่มจังหวัดฯ) ครั้งที่ 3/2566 

วันที่ 4 กรกฎาคม 2566 นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก มอบหมายให้ นายเชาวฤทธิ์ ฉายะกูล รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจกลุ่มจังหวัดดภาคเหนือตอนล่าง 1 (กรอ.กลุ่มจังหวัดฯ) ครั้งที่ 3/2566 ณ ห้องประชุมมหาราช (Convention hall) ชั้น 2 อาคารศูนย์แสดงนิทรรศการและการจัดประชุมนานาชาติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก โดยมี นายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก และหัวหน้ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 เป็นประธานในการประชุม และมีหัวหน้าส่วนราชการ หอการค้าจังหวัด และสภาอุตสาหกรรมฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ ตาก สุโขทัย เข้าร่วมประชุม 


โดยมีระเบียบวาระการประชุมที่สำคัญคือ การติดตามความคืบหน้าผลการประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้แทนภาคเกษตรกร เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 (ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์), การขับเคลื่อนพิษณุโลก เมืองใช้ประโยชน์จากขยะ (Phitsanulok the City of Recycling: PCOR 2023), ผลการดำเนินการเป็นเจ้าภาพร่วมโครงการยกระดับและพัฒนาขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรม MICE ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง 1 ผ่านงาน LIMEC, การดำเนินการติดตามความคืบหน้า แนวทางการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจ LIMEC, ผลการพิจารณาข้อเสนอขอรับการสนับสนุนและผลักดันการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยในโรงพยาบาล ขนาด 60 เตียง (มาตรฐาน) โรงพยาบาลศรีสัชนาลัย, ผลการพิจารณาข้อเสนอการเร่งรัดการและสนับสนุนการดำเนินการโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายตาก-แม่สอด (Motorway) เพื่อพัฒนาเป็นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับระบบรางตามร่างแผนแม่บท (MR-MAP) ของกระทรวงคมนาคม, แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ตามแผนปฏิบัติราชการกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 และแนวทางการป้องกันอุทกภัยน้ำท่วมและแนวทางการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดพิษณุโลก


รวมทั้งระเบียบวาระเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับ การติดตามความคืบหน้าเรื่องโลจิสติกส์ในภาคเหนือตอนล่าง สาย MR-MAP จำนวน 2 เส้นทาง ที่มีความสำคัญต่อจังหวัดในภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย 1. สาย (MR1) เหนือ-ใต้ (เส้นทางเชียงราย-นราธิวาส) ระยะทาง 2,237 กิโลเมตร  โดยช่วงที่ 4 กับ ช่วงที่ 5 เป็นช่วงที่ผ่านจังหวัดพิษณุโลก (จากเชียงใหม่-พิษณุโลก-นครสวรรค์) 2. สาย (MR4) แนวตะวันออก-ตะวันตก (เส้นทางตาก-นครพนม) ระยะทาง 872 กิโลเมตร รวมถึงการสนับสนุนภาคการขนส่งบนทางหลวงหมายเลข 12 ตามเส้นทางแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC).




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น