วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2567

รัฐมนตรียุติธรรม ลงพื้นที่ จ.สตูล ประชุม พบปะ แกนนำตำบลอาสา แก้ปัญหายาเสพติด ในขณะที่ ประชาชน ยังไม่เห็นด้วยกับ นโยบายมียาบ้า 5 เม็ด เป็นผู้ป่วย และ ต้องการให้ มีการ แก้ปัญหา บุหรี่ไฟฟ้า ในสถานศึกษา ที่ ระบาด ใน เยาวชนที่เป็น นักเรียน นักศึกษา

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม แจ้งว่า ในวันที่ 7 เมษายน นี้ จะนำคณะกรรมการ ขับเคลื่อน แก้ปัญหา เพื่อเอาชนะยาเสพติดภาคประชาชน ลงพื้นที่ของจังหวัดสตูล เพื่อรับทราบปัญหายาเสพติดจาก พี่น้องประชาชน และมีการพบปะ ประชุมร่วมกับ แกนนำตำบลอาสา  ของ จ.สตูล ที่เข้าร่วมปฏิบัติการ แก้ปัญหายาเสพติดภาคประชาชนจำนวน 8 ตำบล โดยจุดแรก จุดแรกเวลา 09.00 น. จะพบปะ ประชาชนที่ ศาลาอ่าวทุ่งนุ้ย อ.ละงู  จุดที่ 2 ที่ ห้องประชุม อบต.บ้านควน อ.เมือง  และ เยี่ยม บ้านพักใจ ที่เป็นสถานที่บำบัดผู้ป่วยที่ติดยาเสพติด และ ประชุมร่วมกับ แกนนำตำบลอาสา ต.บ้านควน  ช่วงบ่าย เดินทางไปเยี่ยมเรียนจำจังหวัดสตูล เพื่อติดตามการดำเนินงานของเรือนจำ
      หลังจากนั้น จึงเดินทางไปเยี่ยมตำรวจตระเวนชายแดน กองร้อย ตชด. 436 ก่อนที่จะเดินทางไป ปฏิบัติภารกิจ ยังโรงเรียนนราสิกขาลัย และรวมละศีลอด รอมฎอนสัมพันธ์ ณ โรงเรียนนราสิขาลัย จ.นราธิวาส
ซึ่ง รัฐมนตรียุติธรรม กล่าวว่า สถานการณ์ของการระบาดของยาเสพติด ทั้งการค้าและการเสพ ยังมีความรุนแรง ที่ต้องดำเนินการแก้ปัญหาด้วยความรวดเร็วทั้งการ สกัดกั้น การจับกุม ผู้ค้า ที่ผ่านมา ได้เดินทางไปยังประเทศที่เป็นผู้ จำหน่าย สารตั้งต้น ที่ใช้ ผลิตยาเสพติด เพื่อขอให้ร่วมมือกับรัฐบาลในการแก้ปัญหาของการผลิตยาเสพติด ซึ่งขณะนี้ยาเสพติดในประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นแหล่งผลิต ยังผลิตได้มาก และมีราคาถูก ดังนั้นจึงได้ให้นโยบายกับ สำนักงานปราบปรามป้องกันอย่างเสพติด ( ปปส.) ให้ดำเนินการอย่างเข้มข้น 
ในส่วนของผู้เสพนั้น เห็นชัดว่าเป็นผู้ป่วยทางจิตจำนวนมาก ที่ก่อเหตุรุนแรงกับ คนในครอบครัวที่ใกล้ชิด เป็นอันตรายต่อผู้คนในชุมชน ที่ต้องเร่งดำเนินการนำผู้เสพ ที่เป็นผู้ป่วยออกจากชุมชน เพื่อการคุมขัง และการ บำบัด  โดยเร็ว โดยเฉพาะใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เป็นแหล่งระบาดของบาเสพติด ต้องเร่งดำเนินการโดยเร็ว และแนวทางที่สำคัญคือให้ ชุมชน มีส่วนร่วม ในการแก้ปัญหา จึงเป็นที่มาของ นโยบายการแก้ปัญหายาเสพติดโดยภาคประชาชน ซึ่งไม่ได้แข่งกันทำกับ หน่วยงานราชการ ที่ทำอยู่แล้ว ทั้ง ทหาร ตำรวจ ปกครอง แต่การ ขับเคลื่อนการแก้ปัญหายาเสพติดโดยภาคประชาชน เป็นอีก แนวทาง หนึ่ง ในการ แก้ปัญหา และการ เอาชนะยาเสพติด โดยภาคประชาชน ที่วันนี้ทุกพื้นที่ ทุกชุมชน ต่างตระหนักถึง อันตราย จาก ยาเสพติด และ พร้อมที่จะเป็น อาสา ในการแก้ปัญหายาเสพติดในชุมชนของตนเอง จึงมีที่มาของ ตำบลอาสา ที่เข้าร่วมการขับเคลื่อน เพื่อแก้ปัญหายาเสพติดในครั้งนี้
ซึ่ง พล.อ.วิชาญ สุขสง ประธาน ยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อน การแก้ปัญหาเอาชนะยาเสพติด มีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งได้ทำสำเร็จแล้วจำนวน 2 เรื่อง 1. ได้แก่การสร้างความรับรู้ และความเข้าใจให้กับแกนนำภาคประชาชน ระดับตำบล และหมู่บ้าน  มีกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม 60% เมื่อเทียบกับเป้าหมาย ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำศาสนา ระดับตำบล และหมู่บ้าน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้  จังหวัดที่ดำเนินการตามเป้าหมายสูงสุดคือ จ.นราธิวาส 90 % ส่วนจังหวัดที่น้อยที่สุดคือ จ.สตูล 25% และเรื่องที่ 2 คือเรื่อง การจัดตั้งคณะทำงานอาสาแก้ปัญหายาเสพติดระดับตำบล การจัดทำโครงการแก้ปัญหาคณะอาสาระดับตำบล และโครงการที่อยู่ระหว่างการขับเคลื่อน คือการทำโครงการเพื่อของบประมาณ ของตำบลอาสา 68 ตำบล ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาล และการนำแกนนำอาสาตำบลละ 2 คน รวม 138 คน เพื่อเดินทางไปศึกษาดูงาน ตำบลต้นแบบ ในพื้นที่ จ.ลพบุรี และ จ.นนทบุรี ในระหว่างวันที่ 21 – 23 เมษายน นี้ ซึ่ง การ ขับเคลื่อน การดำเนินการแก้ปัญหาภาคประชาชน ที่ทำมาในระยะเวลา 2 เดือน เป็นไปตามแผนงานทุกประการ
อย่างไร ก็ตาม มีประชาชนในพื้นที่ของ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีการบ้านถึง คณะทำงานขับเคลื่อนการแก้ปัญหายาเพติดภาคประชาชน ให้ดูในเรื่องของ บุหรี่ไฟฟ้า ที่ขณะนี้มีการ ระบาดหนัก ในโรงเรียนระดับมัธยม โรงเรียนเอกชนสอนศาสนา   และประชาชนส่วนหนึ่ง ยังไม่เห็นด้วยกับ นโยบายของ กระทรวงสาธารณสุขในเรื่องการครอบครองยาเสพติด 5 เม็ด ให้เป็นผู้ป่วย รวมทั้งปัญหาเรื่อง สถานที่บำบัดผู้ป่วยมีไม่เพียงพอ ทำให้คนเหล่านี้หลังถูก ควบคุม ตัวมาการปล่อยตัวกลับมาอยู่ในชุมชน และมีการ มั่วสุม เสพยาอีก  นี้คือเสียงสะท้อนของ ประชาชน ในพื้นที่ ที่ต้องการ สื่อ มายังคณะทำงานขับเคลื่อนการแก้ปัญหายาเสพติดภาคประชาชน ให้ดำเนินการแก้ไข

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น