(4 มีนาคม 2567) ผูัสื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 19.30 น. วานนี้ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เดินทางมาเป็นประธานในพิธีปิดงานวากัฟอิสตีษมารีย์ WAQAF เพื่อการศึกษามหาวิทยาลัยฟาฏอนี พร้อม นายอับดุลอายี สาแม็ง รองหัวหน้าพรรคประชาชาติ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชาติ จังหวัดยะลา นายรวิศ สอดส่อง และนายพลรักษ์ รักษาพล คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม จัดโดยคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยฟาฏอนี และสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฟาฏอนี ณ สนามกีฬาหัวหมาก กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 1 - 3 มีนาคม 2567 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี , อิหม่ามอนุสรณ์ (มุสตอฟา) องอาจ กรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร อิหม่ามมัสยิดแม่บาง(เอเชียทีค) ในฐานะประธานจัดงานวันที่ 3 , นายเศรษฐ์ อัลยุฟรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดปัตตานี ในฐานะ ประธานคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยฟาฏอนี , นายอิมรอน เส็นหลีหมีน ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยฟาฏอนี ในฐานะคณะกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยฟาฏอนี และคณะ ร่วมให้การต้อนรับ โดยกิจกรรมภายในงาน มีการจัดเลี้ยงอาหารแก่พี่น้องประชาชนที่มาร่วมงาน มีการออกร้านจำหน่ายสินค้า มีกิจกรรมบนเวที ซึ่งเป็นการแสดงความสามารถของเยาวชน และการเสวนาวิชาการ และการบรรยายจากผู้ทรงคุณวุฒิ อีกด้วย โดยมีประชาชนและผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก
ทั้งนี้ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ยังได้มอบ ลายค็อต (Khat) อักษรอาหรับที่ร้อยเรียงลวดลายออกมาอย่างวิจิตรให้ผู้มีคุณูปการในสังคมไทยที่มีส่วนช่วยในการจัดงาน จำนวน 22 คน ด้วย
พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า แต่เดิม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา เป็นสถาบันการศึกษาด้านศาสนาอิลามแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อให้น้องๆ เยาวชนที่ต้องการเล่าเรียนซึ่งช่วงนั้นต้องไปศึกษาที่ต่างประเทศ แต่ส่วนใหญ่ไม่มีฐานะจึงต้องดิ้นรน รวมตัวก่อตั้งมหาวิทยาลัยอิสลาม ก่อนจะมาเป็นมหาวิทยาลัยฟาตอนี ทำให้ลูกหลานได้มีการศึกษา จนมีนักศึกษาต่างชาติเข้ามาเรียน ที่อาจเป็นเรื่องปกติในสายตาชาวต่างชาติ แต่เราคนไทยถือว่าเป็นเรื่องไม่น่าเชื่อ กับในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้
วันนี้ ในประเทศไทยกับประเด็นทางการเมือง "วะกัฟ" ยังไม่มีกฎหมายรองรับ เห็นได้จากหลังพ้นจากตำแหน่ง ผอ.ศอ.บต. เมื่อปี 2558 ที่ดินของโรงเรียนปอเนาะหลายแห่งถูกยึดเนื่องจากข้อมูลทางกฎหมายยังไม่เข้าใจกับการบริจาคที่มีเจตนาในกิจการที่สอดคล้องการอิสลามศึกษา แตกต่างจากธรณีสงฆ์ และเรายังไม่มีกฎหมายและหน่วยงานใด ๆ ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ
“ความประเสริฐของวะกัฟ อยู่ที่คุณค่าของการบริจาคที่ได้ใข้ตามวัตถุประสงค์ ผมอยากให้เกิดจุดเริ่มต้น ผลักดันการคุ้มครอง การพัฒนาทรัพย์สิน ที่ดิน สาธารณะสมบัติที่มีการบริจาคเพื่อวะกัฟให้ได้การรับรองทางกฏหมาย” พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า "มหาวิทยาลัยฟาฏอนี" เริ่มต้น ตั้งแต่ปี 2541 จากการได้รับอนุญาตจากทบวงมหาวิทยาลัย ตั้งสถาบันอุดมศึกษา ประเภทวิทยาลัยโดยใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยอิสลามยะลา" ต่อมา ปี 2550 มีการเปลี่ยนชื่อและประเภทเป็น "มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา" ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น "มหาวิทยาลัยฟาตอนี" เมื่อ 31 ตุลาคม 2556
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยฟาตอนี ตั้งอยู่ที่ม.3 ต.เขาตูม อ.ยะรัง จ.ปัตตานี มีนักศึกษาต่างชาติที่กำลังศึกษาอยู่ ทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก จาก 5 ทวีป ได้แก่ เอเชีย แอฟริกา ยุโรป ออสเตรเลีย และอเมริกา จำนวนกว่า 30 ประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น