นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เผยความคืบหน้าในการช่วยเหลือลูกจ้างบริษัทอิตาเลียนไทยที่ถูกค้างจ่ายค่าจ้าง ล่าสุดทยอยจ่ายไปแล้วกว่า 30 ล้านบาท ลูกจ้างได้เงินแล้ว 6,626 คน
ด้านนายจ้างเร่งแก้ปัญหา คาดจ่ายค่าจ้างครบ 100 % ภายในสิ้นเดือนเมษายนนี้
นายพิพัฒน์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าล่าสุดในการช่วยเหลือลูกจ้างบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ว่า เมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา พนักงานตรวจแรงงาน ได้เชิญผู้แทนบริษัทฯ มาพบที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 เพื่อให้ข้อเท็จจริงและหารือร่วมกันถึงปัญหาการค้างจ่ายค่าจ้าง
โดยผมได้มอบหมายให้นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ร่วมหารือด้วย ซึ่งจากการพูดคุยกับผู้แทนบริษัทให้ข้อเท็จจริงว่า บริษัทฯ มีลูกจ้างทั้งหมด 20,188 คน และมีโครงการก่อสร้างกระจายอยู่หลายจังหวัดทั่วประเทศไทย รวม 115 โครงการ กรณีปัญหาที่เกิดขึ้น บริษัทฯ ยอมรับว่าเกิดจากการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ปัญหาโดยการขอสินเชื่อหรือขอกู้เงินจากสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อนำเงินมาหมุนเวียนภายในบริษัทฯ โดยในปัจจุบันมีสถาบันทางการเงินเข้ามาสนับสนุนโครงการของบริษัทฯ แล้ว จำนวน 79 โครงการ ทำให้สามารถจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างได้ตามปกติ สำหรับ 36 โครงการที่เหลือรวมถึงสำนักงานแห่งใหญ่ของบริษัทฯ อยู่ระหว่างติดต่อประสานกับสถาบันการเงินเข้ามาสนับสนุน ซึ่งผู้แทนบริษัทคาดว่าจะสามารถจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างได้ตามปกติประมาณเดือนเมษายน 2567 ทั้งนี้ จากการที่ได้สั่งการให้พนักงานตรวจแรงงานทั่วประเทศ
ลงพื้นที่ตรวจสอบไซต์ก่อสร้างในเครือบริษัทอิตาเลียนไทย พบว่า ในหลายโครงการหลายจังหวัดเริ่มทยอยจ่ายค่าจ้างค้างจ่าย โดยลูกจ้างได้รับค่าจ้างตามปกติแล้ว เป็นลูกจ้างที่มีทั้งสัญชาติไทยและแรงงานข้ามชาติ จำนวน 6,626 คน ได้แก่ ลูกจ้างในจังหวัดระยอง ปทุมธานี เชียงใหม่ นครราชสีมา และเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 และพื้นที่ 3 เป็นเงินกว่า 30 ล้านบาท
นางโสภา เกียรตินิรชา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือลูกจ้างบริษัทอิตาเลียนไทย รวมไปถึงลูกจ้างรับเหมาช่วงอย่างเต็มที่ตามอำนาจหน้าที่ โดยในหลายพื้นที่ได้มีการรับคำร้อง คร.7 และออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างแก่ลูกจ้าง อย่างไรก็ตาม ตนได้เน้นย้ำกับพนักงานตรวจแรงงานในพื้นที่ที่ลูกจ้างยังไม่ได้รับค่าจ้างค้างจ่ายให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเร่งรัดให้นายจ้างเร่งดำเนินการตามกรอบระยะเวลาที่ได้ตกลงไว้กับลูกจ้าง ทั้งนี้ กรมสวัสดิ การและคุ้มครองแรงงาน มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองแรงงานทุกคนภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ซึ่งจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ 2566 กสร. ได้ดำเนินการช่วยเหลือลูกจ้างในสถานประกอบกิจการทั่วประเทศให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จำนวน 19,832 คน ลูกจ้างได้รับสิทธิประ โยชน์ เป็นเงินรวม 1,912,298,148.01 บาท โดยจำแนกตามประเภทคำร้อง 5 ลำดับแรก คือ 1) ค่าจ้าง
2) ค่าชดเชยการเลิกจ้าง 3) ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 4) ค่าล่วงเวลา และ 5) ค่าทำงานในวันหยุด และพบว่า แรงงานสัญชาติไทยมีการยื่นคำร้อง (คร.7) มากที่สุด รองลงมาคือ แรงงานสัญชาติเมียนมา กัมพูชา และลาว ตามลำดับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น