วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โครงการโคบาลชายแดนใต้ ชี้ อาจวัดส่วนสูงวัวเพื่อแก้ปัญหาไม่มีตาชั่ง

     วันพฤหัส ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ห้องประชุมชั้น 5 ศาลากลาง ประจำจังหวัดปัตตานี นายประมุข ละมุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี รองประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จ กรณี เกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรมโคบาลชายแดนใต้ภายใต้ ภายใต้โครงการเมืองปศุสัตว์ ภายใต้กรอบระเบียบเศรษฐ์กิจฮาลาลจังหวัดชายภาคภาคใต้ ระยะ 7 ปี พ.ศ.2565-2571 เป็นประธานตรวจสอบข้อเท็จจริง โครงการโคบาลชายแดนใต้ ภายหลังมีข้อร้องเรียนประเด็นแม่โคพื้นเมืองที่ส่งไม่ตรงตามหลักเกณฑ์ ที่กรมปศุสัตว์กำหนด ครั้งที่ 1/2567  โดยในช่วงเช้ามีการสอบสวนข้อเท็จจริงจากเจ้าหน้าที่   จากนั้นมีการแยกตรวจสอบข้อเท็จจริงจากกลุ่มผู้เลี้ยงโคในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ทั้ง 16 กลุ่ม 
       นายประมุข ละมุล อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี รองประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จฯ กล่าวว่า คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ที่มีปัญหาโคไม่ตรงสเปค วันนี้ได้เชิญเจ้าหน้าที่ ข้าราชการที่รับผิดชอบปศุสัตว์อำเภอทุกอำเภอ และกลุ่มเกษตรกร เพื่อรับทราบข้อมูลและรับฟังปัญหาอุปสรรค์มาสรุป โดยภาพรวมมีทั้งกลุ่มที่มีปัญหาอยู่บ้างและบางกลุ่มที่พึ่งพอใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของสเปคโคที่ส่งมาในล๊อตต้นบางกลุ่มทราบว่าไม่ตรงสเปค ทางผู้ประกอบการก็รับผิดชอบตามสัญญาที่ระบุไว้ 
    หลักๆมีการตรวจสอบเรื่องของผู้ประกอบการที่ได้มีการแข้งขัน 2.เรื่องสเปคโค ส่วนของปศุสัตว์น่าจะต้องมีการตรวจสอบในเรื่องของส่วนสูงคู่ขนานเรื่องของน้ำหนัก อาจจะใช้คำว่าหรือในสัญญา คิดว่าน่าจะเป็นผลดีต่อต่อเกษตรกร เพราะถ้าจะชั่งน้ำหนักตัวต่อตัว อาจจะมีข้อจำกัดเพราะฉะนั้นเมื่อกำหนดส่วนสูงขึ้นมาก็สามารถวัดได้ทันที และ 3.เรื่องของคอก ก็มีการเสนอระหว่างคอกกลางกับคอกที่แยกไปเลี้ยง โดยให้เกษตรทั้งหลายที่เป็นสมาชิกกลุ่มแยกไปเลี้ยง ซึ่งหลังจากที่ปัตตานี แล้วพรุ่งนี้ก็จะไปนราธิวาสเสร็จนราธิวาสก็จะไปสตูลพอได้ข้อมูลทั้งหมดก็จะทำข้อสรุปไปให้เลขาธิการศอ.บต. 
      จากการสอบถามปศุสัตว์โดยส่วนใหญ่เกษตรกรอยากจะมาร่วมโครงการต่อแต่ขอให้มีการปรับปรุง เพราะโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์อย่างยิ่งคิดว่าถ้าเราประสานความเข้าใจรับรู้เรื่องกันตั้งแต่ต้น ทั้งส่วนราชการ ภาคเอกชน ตัวแทนกลุ่มต่างๆก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาที่ถูกจุด และหาทางออกเพื่อประโยชน์สูงสุดเพื่อพี่น้องประชาชน   
        นายสะอารี  มะรอแม ประธานกลุ่มวิสาหกิจขุมชนปลุกพื้นหลังฤดูทำนาสายบุรี กล่าวว่า เรื่องที่เกิดขึ้นมันเป็นจุดบกพร่องที่เรา ที่ไม่มีตาชั่งด้วยวัวมาเราดูด้วยสายตา คือวัวที่มาก็มีวัวที่เกินสเปคก็มีแล้วก็มีวัวที่ไม่ตรงสเปค ภาครวมพอรับได้ วัวของกลุ่มก็ไม่ได้ส่งคืนบริษัท เพราะวัวที่รับมาก็สามารถทำให้โตได้ ส่วนเรื่องเงิน 3 หมื่นไม่ใช่เงินเยียวยา แต่เป็นเงินค่าอาหาร ช่วงน้ำท่วมเราอาจต้องดูแลวัวนิดหนึ่งสมมุติเขาจะให้เงินอาจเป็นกำลังใจให้เกษตรกรสามารถฟื้นตัวได้เร็วหน่อย    
      เรื่องเอกสาร ข้อจกลง เจ้าหน้าท่ปศุสัตว์ ได้เอามาให้เซ็นต์เมื่อสามวันที่แล้ว ทางกลุ่มได้เซ็นต์เอกสารข้อตกลงระหว่างนางสาวปาวีณา ปาทาน ผู้ประกอบการร่วมเซ็นต์เอกสาร ก็ดีหากได้มาจริงๆ แต่ตอนนี้ยังไม่ได้รับเงินจำนวนดังกล่าว 
        นายพงษินทร์  หนูทอง ประธานกลุ่มวิสาหกิจเลี้ยงโคตำบลควนกระบือ ปะนาเราะ กล่าวว่า สภาพ ณ ตอนนี้ เกือบทุกตัววัวฟื้นตัวเกือบจะหมดแล้ว เหลือประมาณ 3 ตัวยังไม่ค่อยฟื้นตัวเพราะมันกินอาหารไม่ทัน ตอนนี้เราต้องแยกกัก ก็พอยอมรับได้กับวัวที่ได้ ไม่ใช่ว่าได้เกรดต่ำจนเกินไป ซึ่งกลุ่มตนมีวัวที่ไม่ตรงสเปคประมาณ 3-4 ตัวที่ว่าน่าจะขนาดไม่ถึงหรือกำกึ่ง 
     โครงการนี้ ก็ได้ประโยชน์กับเกษตรกรจริงแต่ก็มีปัญหา บางกลุ่มตกลงกันไม่ได้ก็กลายเป็นปัญหา เป็นประเด็นขึ้น ก็อยากให้มีการส่งเสริมเรื่องตลาดอย่างน้อยให้มีโรงเชือดในพื้นที่สามจังหวัดเพื่อส่งขายวัวของเราได้ ตอนนี้ที่เลี้ยงไปเรายังไม่รู้เลยว่าจะส่งวัวเราไปขายที่ไหนตอนนี้ถ้าวัวโตเต็มที่แล้วเราจะส่งให้ใครนอกจากขายให้ชาวบ้านจัดงาน มันก็ยากเหมือนกัน วันจำนวนมากแบบนี้  วันนี้มีการสอบถามข้อมูลทั่วไปเหมือนหลายๆครั้งที่มีการสอบถาม เขานัดคุยทุกกลุ่มแต่ละกลุ่มให้เวลาคุย 10 นาที 
     ขณะที่นายสูรเดช  หะยีสมาแอ รองประธานสภาเกษตรจังหวัดปัตตานี และ เป็นเกษตรกรผู้เลียงโค กล่าวว่า วันนี้ เป็นการเจรจาประฯประนอมมากกว่า เพราะ ต่างไม่อยากให้เกิดผลกระทบต่อโครงการ จะเห็นว่า ช่วงที่เจ้าหน้าที่เรียกพูดคุย เขาจะบอกว่า ให้กลุ่มที่มีปัญหาเข้ามาก่อน ส่วนกลุ่มที่ไม่มีปัญหาเข้าที่หลัง ก็เลยทำให้กลุ่มตนและอีก 3 กลุ่มได้เข้าไปพูดคุยการพูดคุยกลุ่มตนก็ยังยืนยันตามข้อเท็จจริงเหมือนเดิม ว่า วัว และคอก ไม่ตรงปกกับคณะกรรมการ นอกจากนี้ ทางกลุ่มยังสอบถามถึง ค่าเสียเวลาที่เลี้ยงวัวไปนั้นใครจะรับผิดชอบ ขณะที่กลุ่มอื่นๆเขาทำสัญญาจะให้ค่าเยียวยากลุ่มละ 3 หมื่นบาท ทางคณะกรรมการบอกว่าจะประสานงานให้ นอกจากนี้ยังได้ยืนยันกับคณะกรรมการด้วยว่า ข้อเสนอของกลุ่ม คือ ต้องการวัวที่ตรงตามสเปค ชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูง รวมทั้งอายุวัว 2 ปี พร้อมที่จะเป็นแม่พันธ์ คือวัวที่มาจะวัดส่วนสูงอย่างเดียวมันไม่ได้ ต้องช่างน้ำหนักด้วย เพราะบางทีวัวมาสูงแต่น้ำหนักไม่ได้อีก อายุไม่ถึงอีก ก็ไม่สามารถเป็นแม่พันธ์ รู้สึกกังวล สเปครุ่นต่อไป อาจจะต้องอ่านสัญญาก่อนเซ็นต์ให้ดี แต่ปัญหา เกษตรกรอ่านหนังสือไม่ค่อยเป็น กลัวว่าจะมีการเปลี่ยนสเปค อยากให้เจ้าหน้าที่รักษาสิทธิ์ให้เกษตรส่วนนี้ด้วย  
    นอกจากนี้ ทราบว่ากลุ่มของกะพ้อ ทางปศุสัตว์ได้ยกเลิกสัญญาไปแล้วและบอกว่าจะโอนเงินเข้ากลุ่มให้จำนวน 85,000 บาท เพื่อให้ทางกลุ่มกะพ้อไปหาวัวเอง 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น