วันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวปาฐกถา 1 ปี กับกฎหมายต่อต้านทรมานและอุ้มหาย หนทางสู่ความยุติธรรม

ชี้เป็นการแสดงความจริงใจของภาครัฐอย่างแท้จริง เป็นความโชคดีของประชาชนคนไทย ที่ภาครัฐให้มีการปกป้องคุ้มครอง
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานจาก กระทรวงยุติธรรม ว่า พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน เปิดงาน “1 ปี กับกฎหมายต่อต้านทรมานและอุ้มหาย หนทางสู่ความยุติธรรม” เนื่องในโอกาสครบรอบพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 หรือที่เรียกกันว่า “พ.ร.บ.อุ้มหายฯ“  ที่จัดโดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสริภาพ โดยมีนางเอมอร เสียงใหญ่ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, นายกลุธนิต มงคลสวัสดิ์ อธิบดีอัยการสำนักงานการสอบสวน สำนักงานอัยการสูงสุด นายสมชัย เลิศประสิทธิพันธ์ รองอธิบดีกรมการปกครอง กรมการปกครอง นายอังศุเกติ์ วิสุทธิ์วัฒนศักดิ์ ผู้อำนวยการกองกิจการอำนวยความยุติธรรม กรมสอบสวนคดีพิเศษ และผู้แทน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม 10-09 (Auditorium) อาคารกระทรวงยุติธรรม โดยมีประชาชนที่สนใจและมีสื่อมวลชนหลายสำนักเดินทางมาทำข่าวเป็นจำนวนมาก
พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า “สืบเนื่องจาก กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม กับทุกภาคส่วนในประเทศไทยได้ร่วมกันผลักดัน พ.ร.บ.อุ้มหายฯ จนมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในวันที่ 25 ตุลาคม 2565 กระทั่งประกาศบังคับใช้อย่างทางการ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งจะครบรอบ 1 ปีของการบังคับใช้กฎหมาย โดยภายในงานมีการตั้งบูธ เผยแพร่ ภาระกิจ และสาธิตการปฏิบัติงานจากหน่วยงานของกระทรวงยุติธรรม ภายใต้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565” อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กล่าวรายงาน 
พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวเปิดงานโดยชี้ว่า วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นจุดเริ่มต้นของ พ.ร.บ.อุ้มหายฯ นับเป็นความโชคดีของประชาชนคนไทย ที่ภาครัฐให้มีการปกป้อง คุ้มครองประชาชนไม่ให้เจ้าหน้าที่กระทำการทรมานและอุ้มหายกับประชาชน จนการปฏิบัติงานตามกฎหมายฉบับนี้เดินทางมาครบ 1 ปีแล้ว แสดงถึงความจริงใจของภาครัฐอย่างแท้จริง 

ขอชื่นชมหน่วยงานต่างๆ ที่ปฏิบัติงานภายใต้ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคุ้มครองพยาน จากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ, กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ), สำนักงานอัยการ หรือ กรมการปกครอง ฯลฯที่ได้เข้ามาดูแลให้กระบวนการยุติธรรมเป็นที่ยอมรับของประชาชน แม้ช่วงแรกของบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่อาจมีความสับสนในแนวทางปฏิบัติ แต่จากความทุ่มเท ทำให้สังคมไทยสามารถผ่านเหตุการทรมานและการอุ้มหายที่เคยทำลายภาพลักษณ์ของประเทศ ในประเด็นสิทธิมนุษยชน ถือเป็นการยกระดับหลักนิติธรรมของประเทศไทยด้วย

“1 ปีที่ผ่านมา สถิติของการทรมานและการหาย ยอมรับว่ายังเกิดขึ้น แต่ไม่มากนักและเรารู้สึกได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลง”รัฐมนตรีฯยุติธรรม ระบุ

“ผมหวังว่า การเข้าสู่ปีที่ 2 , 3 และปีต่อๆ ไป กฎหมายจะได้รับการพัฒนา มีการฝึกอบรมให้มีความก้าวหน้า โดยการดึงปัญหาการค้ามนุษย์ ที่มีความเชื่อมโยงด้วยการกระทำของอาชญากรมักใช้ความตาย การใช้ร่างกาย การทำลายมนุษย์ด้วยกันเพื่อหวังเอาผลประโยชน์ นำมาผนวกกับการป้องกัน ปราบปรามการทรมานและการอุ้มหายเข้าไว้ด้วยกันเพื่อต่อสู้กับปัญหาอาชญากรรม” ช่วงสุดท้ายของคำกล่าวเปิดงานของ พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น