วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2567

ปาเรซ/ปัตตานีดราม่าโคบาลไม่ตรงปกปัตตานี ด้านไชยา ลงพื้นที่ติดตามโครงการโคบาลนำร่อง

      ลั่น ไม่อยากให้ชาวบ้านมีความรู้สึกว่าเราไปยัดเยียดสิ่งไม่ดีให้กับเขา เพิ่มหลักเกณฑ์ในสัญญา เพื่อให้เกิดความรัดกุมมากกว่านี้ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอีก 
   ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีปัญหาของโครงการ “โคบาลชายแดนใต้  ภายใต้งบประมาณกว่า 1,500 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวในจังหวัดปัตตานี ทีมีกลุ่มทั้งหมด16 กลุ่ม ได้รับการสนับสนุนเงินกู้ยืมจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จัดหาแม่โคพื้นเมือง จำนวน 50 ตัว ตัวละไม่เกิน 17,000 บาท รวมเป็นเงิน 850,000 บาท รวมถึงค่าก่อสร้างโรงเรือน กลุ่มละ 350,000 บาท
โดยบางกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวปัตตานีจัดซื้อวัวแม่พันธุ์ และได้เลี้ยงมา วันที่ 8 เดือนธันวาคมปี2666 ปีที่ผ่านมา และวัวที่ได้รับตั้งแต่แรกปรากฏว่า มีสภาพผอม และมีน้ำหนักน้อย อยู่ที่140 กิโลกรัม น้อยกว่าที่ผู้ประกอบการทำสัญญาในการส่งมอบอยู่ที่ 160 กิโลกรัม ในราคาตัวละ 17,000 บาท แม่ว่าชาวบ้านมีการให้หญ้าอยู่ตลอด จนผ่านมาหลายเดือนน้ำหนักวัวก็ยังไม่เพิ่ม 
กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวปัตตานีจึงออกมาร้องเรียนให้ผู้ประกอบการเข้ามาดูแล และเยียวยา ร่วมไปถึงการร้องเรียนให้ ให้ ป.ป.ช เข้าตรวจสอบโครงการดังกล่าว เพราะวันที่ส่งมอบมานั้น วัวไม่ตรงปก ทำให้กลุ่มกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวในโครงการนำร่อง ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ทำให้เกิดความกังวล บางกลุ่มต้องทำการขายวัว เพราะเลี้ยงมาหลายเดือนน้ำหนักวัวกลับไม่เพิ่ม เพราะวัวที่มาไม่สมบูรณ์ตั้งแต่แรก
   ขณะที่ผู้ประกอบการก็มีการเข้ามาไกล่เกลี่ยกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัว ปัตตานีแล้ว โดยยินยอมให้เปลี่ยนให้วัวใหม่ พร้อมมีการยกเลิกสัญญา โดยให้กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงวัวเปลี่ยนไปทำสัญญาจัดจ้าง
บริษัทอื่นแทน ส่วนป.ป.ช. ขณะนี้ยังคงเฝ้าติดตามโครงการดังกล่าว เพื่อป้องกันการทุจริต  ส่วนปศุสัตว์ปัตตานี มีการปรับดำเนินการเอกสารทำเอกสารที่เกี่ยวข้องที่ระบุอย่างชัดเจน
      สำหรับโครงการดังกล่าวเป็นโครง การที่อยู่ในความดูแลของ 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย ศอ.บต,กรมปศุสัตว์,กระทรวงเกษตรและสหกรณ์,และกระทรวงมหาดไทย  ภายใต้โครงการเมืองปศุสัตว์ภายใต้กรอบระเบียบเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ ระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2565-2571)  ซึ่งการดำเนินงานแบ่งออกเป็น 3 ระยะ และปัจจุบันอยู่ในระยะนำร่องหรือระยะแรก จะจัดซื้อแม่พันธุ์วัว3,000 ตัว มีเกษตรกรเข้าร่วม 60 กลุ่ม  ซึ่งมีเงินกู้ยืม 93 ล้านบาท และเงินจ่ายขาด 1.20 ล้านบาท 
    ล่าสุด เวลา 10.30 น. วันที่29 ม.ค. นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินทางลงพื้นที่ กลุ่มเลี้ยงโคตันหยงลุโละ ม.2 ต.ตันหยงลุโละ อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี  เพื่อรับฟังการดำเนินงานโครงการโคบาลชายแดนใต้ พร้อมพบปะเกษตรกรและรับฟังประเด็นปัญหาการดำเนินโครงการฯ 

ซึ่งมีการถกเถี่ยงราคาที่ซื้อขายวัว ต่อ1 ตัว โดยนายสุรเดช หะยีสมาแอ รองประธานสภาเกษตรปัตตานี อ้างอีกว่าทุกครั้งที่เข้าประชุมโดยผู้ประกอบการในมีการบรรยาย และมีการโฆษณาคุณสมบัติอยู่ตลอดว่าวัวสวย สมบูรณ์ พร้อมที่จะผสมพันธุ์ เพื่อให้กลุ่มผู้เลี้ยงวัวได้เลี้ยง 
    ตนขอชี้แนะว่าอยากให้ ศอ.บต.เปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบการที่จะขายโค โดยให้ผู้เลี้ยงวัวหรือผู้ซื้อได้มีสิทธิเลือกวัวของผู้ประกอบการนั้นๆ และบอกอีกว่า ราคาวัว 17,000 บาท ผู้เลี้ยงวัวกู้กับผู้ประกอบการเต็มวงเงิน แต่ราคาตลาดวันซื้อขายนั้นก็ไม่แน่ใจราคา โดยอ้างว่าตนเป็นคนเลี้ยงวัวมาและรู้ราคาจริงว่าวันวัวขนาดนี้ราคาตัวละกีบาท แต่เชื่อว่าราคาไม่ถึง17,000 บาท อย่างเช่นวัวที่อยู่ในฟาร์มนี้จากที่ดูก็อยู่ที่ราคา8,000 บาท ต่อ1 ตัว  
  
นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า วันนี้ตั้งใจมาดูข้อเท็จจริงปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งในทางที่ถูกต้องนั้น ในวันที่ส่งมอบจะต้องทำเอกสารให้ครบสมบูรณ์ เพื่อให้เกษตรมีความมั้นใจว่าวัวที่มานั้นมีสภาพดี ถูกสุขลักษณะ ตามคุณสมบัติที่ทางปศุสัตว์ได้กำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจโรค หรือน้ำหนักวัว โดยวันส่งมอบนั้นความพร้อมจะต้องมีให้กับผู้เลี้ยงวัว ซึ่งหลังจากนั้นไปจะต้องมีการแก้ไขต่อไป  

สำหรับการเยียวยาเบื้องต้นแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงวัว ได้มีการให้ปศุสัตว์นำหญ้าแห้งไปแจกจ่ายในแต่ละกลุ่ม อย่างน้อยกลุ่มละ50 ก้อน ส่วนเรื่องวัวไม่ตรงสเปคนั้น ตนก้ได้มีการหารือกันแล้ว ถ้าจะเดินหน้าคต่อไป ทุกฝ่ายจะต้องมาพูดคุยกัน ซึ่งในเงื่อนไขต่างๆตนคิดว่าสามารถที่จะปรับได้ เพราะเป้าหมายคือการซื้อแม่พันธุ์มาผสมพันธุ์ผลิตลูกออกมาให้เติมโตเพื่อส่งขายต่อไป
ซึ่งแน่นอนเกษตรด้รับภาระในการที่จะต้องจ่ายคืนให้กับกองทุน ในปีที่4 ที่5 ที่6 ที่7 ซึ่งปีละ25% เพราฉะนั้นถ้าวัวไม่ออกลูก ไม่ตั้งท้องก็จะเป็นภาระของเกษตรกร
ที่ต้องหาเงินมาจ่าย 

จะมีการพูดคุยกันอีกครั้งในเรื่องของสัญญาที่สามารถจะปรับปรุงของผู้รับจ้าง ว่ามีการการันตีในเรื่องของหลักประกันอะไร ถ้าวัวไม่ติดลูกในระยะ1ปีหรือ2ปี จะต้องแก้อย่างไร เพื่อไม่ให้มีผลกระทบในระยะที่2ของโครงการนี้ ซึ่งเราต้องสร้างความเชื่อมั่น ไม่อยากให้ชาวบ้านมีความรู้สึกว่าเราไปยัดเยียดสิ่งไม่ดีให้กับเขา

จากการฟังประธานสภาเกษตร ที่เป็นตัวแทนของกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงวัว เราจะต้องพูดคุยกันหาวิธีการที่ดีที่สุด ตนอยากเสนอว่าเงินนี้เป็นเงินที่เกษตรการเขาทำสัญญากู้จากกองทุนเกษตรกร ดังนั้นเงินนี้จะต้องโอนให้เกษตรกร และมีอำนาจโดยตรงในการจัดซื้อว่าจะเลือกซื้อที่ใด หรือขนาดไหน ให้อยู่ในหลักเกณฑ์ ตนมองว่ารูปแบบต้องปรับใหม่ เพราะเรื่องนี้เป็นเงินของเกษตรกรเองที่เป็นคนทำสัญญา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น