วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2567

ปาเรซ/ปัตตานีรองอธิบดีกรมปศุสัตว์ลงปัตตานี รับฟังความคืบหน้าปัญหาโคบาลบชายแดนใต้

      นายสัตวแพทย์ประภาส ภิญโญชีพ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ลงพื้นที่ปัตตานีรับทราบความคืบหน้าโครงการโคบาลชายแดนใต้ ณ ห้องประชุม สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี อ.เมือง จ.ปัตตานี โดยมีนายธีรชัย สุขเกษม ผู้อำนวยการสำนักงานป.ป.ช.ประจำจังหวัดปัตตานี และตัวแทนปศุสัตว์อำเภอของโครงการฯ เข้าร่วมประชุม 
    รองอธิบดีฯ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์จะตั้งคณะกรรมการไปตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการจัดหาแม่โคใน “โครงการโคบาลชายแดนใต้” ว่าไม่ตรงกับที่กำหนดในคุณลักษณะเฉพาะของแม่โคเนื้อในโครงการ โดยมีลักษณะซูบผอม ว่า การจัดหาพันธุ์สัตว์ในโครงการมีปัญหาอุปสรรคหรือข้อบกพร่องใด
“จริงๆ แล้วศอ.บต.จะทำโครงการนี้เอง ปศุสัตว์เป็นแรงหนุน แต่เมื่อมีการประชุมปศุสัตว์ต้องมาทำ ถอดบทเรียนจากหลายโครงการ ผมดูกองส่งเสริมการพัฒนาปศุสัตว์ รับช่วงต่อจากศอ.บต.มาร่วมร่างคู่มือ เหมือนกับโครงการโคบาลบูรพาที่ทำเพื่อส่งออก การเป็นฮับพัฒนาสัตว์ในแต่ละพื้นที่จะช้า จึงต้องนำจากข้างนอกมาด้วย เมื่อมีจำนวนพอก็จะไม่ให้เข้ามา ได้กลับมาเป็นการเลี้ยงวัวพื้นเมืองซึ่งมีราคาถูก เลี้ยงง่าย สมบูรณ์กว่า วัตถุประสงค์การรวมกลุ่มคือ สามารถต่อรองได้ และรวมกลุ่มกันทำคอก หากพบเจออุปสรรคบ้างคือ พื้นที่ในอุทยานไม่สามารถสร้างคอกได้ ทำให้ตัดอาชีพของบางกลุ่มไป หากไม่มีแปลงหญ้า อาจจะไปตัดหญ้า มาให้วัวกิน โดยมีสตง.มาตรวจสอบตามคู่มือการทำงานตามหลักว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือไม่”
   “เรื่องการร้องเรียนที่เกิดขึ้นต้องฟังให้รอบคอบ การทำงานอาจไม่พร้อม ด้วยกำลังคน งบประมาณและการสื่อสาร ต้องปรับให้มีความเข้าใจตรงกันกับบริบทการทำงาน ทุกอย่างมีทางออก ตัวเลขการส่งวัว บางกลุ่มยังส่งไม่ครบ หากเกษตรกรยังไม่พอใจสามารถปรับตัววัวได้ เมื่อมีปัญหาตัวไหนให้ดูตัวนั้น ปัญหาคืองบประมาณปี 67 ยังมาหนุนโครงการไม่ได้ วัวที่ยังไม่ท้องต้องดูเป็นรายกลุ่ม ถ้าไม่ท้องต้องอนุมัติซื้อตัวใหม่มาแทน จะได้รู้ว่าปัญหามาจากไหน ถ้าวัวไม่สมบูรณ์จริงต้องขายออก แล้วไปซื้อมาใหม่ เพราะเลี้ยง 4-5 เดือนถ้ายังไม่ตั้งท้องก็ต้องตรวจ เลี้ยงไปนานๆ ก็หมดกำลังใจคิดว่าวัวไม่ดี ถ้าไม่ดีก็ต่อรองกันสับเปลี่ยนตัวมาใหม่” 
       ผมอยู่กองส่งเสริมต้องเข้ามาดูปัญหาจากรายงานทุกเดือน เมื่อพื้นที่แก้แล้วก็ไปต่อยังเขตและไปที่กรม ขอบคุณปปช. ที่เข้ามาช่วยตรวจสอบการทำงาน อาจบกพร่องต้องนำมาปรับปรุง เจ้าหน้าที่หวังที่จะช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรจึงอาจจะมองข้ามเอกสารบางส่วน เรื่องน้ำหนักที่ลดลงอาจจะมาจากการขนส่ง แต่หากลดมากเกินคงต้องตรวจสอบต้องดูเจตนาตรงนั้น ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นต้องตรวจสอบดูว่าเกิดจากใคร เจ้าหน้าที่รัฐ ผู้ประกอบการ หากพบก็ต้องดำเนินตามกระบวนการกฎหมาย ดูในภาพรวมทั้งหมด ดูว่าเจ้าหน้าที่ทำเต็มที่หรือไม่ตามระเบียบ ยืนยันว่า จะตรวจสอบคู่ขนานกันไป” 
    ในส่วนของยะลา สงขลาและสตูลบางส่วน รองอธิบดีกล่าวว่า จะประกาศเชิญชวนกลุ่มเกษตรกรว่า ต้องการวัว ใครมายื่นข้อเสนอก็จะให้กลุ่มฯ เลือกแล้วให้คุยกันเอง ให้มีตัวเลือก ซึ่งจะจัดหาอีก 20 กลุ่ม จะสามารถลดทอนปัญหาได้ 
“การบริหารจัดการของงบประมาณปี 67 ได้มาบางส่วนซึ่งใช้ในการจัดซื้อหัวเชื้อผสมเทียม แต่เมื่องบได้ไม่เยอะก็ต้องใช้ของเก่าก่อน ใช้ในการจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง กำกับดูแล มายกเครื่องคู่มือ เอาปัญหาในพื้นที่มาประกอบกัน อันไหนที่ดีก็คงไว้ เมื่อปรับและดีก็ปรับให้โครงการเดินต่อไป ตรงไหนไม่ดีก็ต้องติดตาม วัวมาน้ำหนักไม่ถึงก็คือไม่เอา ปัญหาคือจบที่ปศุสัตว์ เราเป็นข้าราชการต้องเด็ดขาด ส่วนกลุ่มเกษตรกรตัดสินใจตามประสบการณ์และตามระเบียบ” 
       ด้านปศุสัตว์อำเภอเมืองปัตตานีบอกถึงปัญหาที่พบเจอของกลุ่มฯ ในอ.เมืองว่า ในอ.เมืองปัตตานีมี 4 กลุ่ม ตอนนี้แม่วัวออกลูกได้จำนวน 3 ตัว มี 1 กลุ่มที่ต้องดำเนินการ 
“จากการสังเกตเห็นว่า เมื่อนำวัวที่มีนิสัยไม่เหมือนกันมาเลี้ยงรวมกันในที่เดียว ทำให้เกิดวัวหน้าคอก คือ สู้ทุกตัว วัวกลางคอก คือ วัวอยู่กลางๆ และวัวท้ายคอก คือวัวไม่สู้ใคร ทำให้กินอาหารไม่เท่ากัน น้ำหนักลดลง จึงควรกั้นคอกให้เป็นสัดส่วน และควรทำเป็นการด่วน”
“ตอนนี้ต้องช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรก่อน โดยการจัดการกั้นคอก เพราะส่วนใหญ่เกษตรกรให้อาหารแล้วไม่ได้ดู เราจึงต้องให้คำแนะนำ แบ่งสัดส่วนในการจัดการ การให้อาหาร ถ้ามีเศษต่อไป ก็ต้องมาปรับการให้เป็นไปตามที่กลุ่มเกษตรกรคาดหวัง จะตั้งคณะกรรมการไปตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยร่วมกับ ศอ.บต. และกระทรวงมหาดไทย เพื่อให้ทราบแน่ชัดว่า มีปัญหาอุปสรรคอื่นใดอีกหรือไม่ หากมาจากความบกพร่องของเจ้าหน้าที่จะดำเนินการอย่างเด็ดขาด จะร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ จัดตั้งคณะกรรมการตรวจติดตามและประเมินผลโครงการเป็นระยะ ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกร” รองอธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวปิดท้าย
ด้าน นายธีรชัย สุขเกษม ผู้อำนวยการสำนักงานป.ป.ช.ประจำจังหวัดปัตตานี กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมข้อเท็จจริง รายงานคณะป.ป.ช หลังจากได้รับเรื่องร้องเรียนจากกลุ่มเกษตรกร เป็นการตรวจสอบคู่ขนานกัน โดยมีข้อสังเกตที่พบระหว่างจากการลงพื้นที่คือ 
“1.บัตรประจำตัวสัตว์ที่ส่งให้ทุกฟาร์มระบุน้ำหนัก 163-165 ก.ก. เมื่อลงพื้นที่พบว่าน้ำหนัก 95 ก.ก. ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ เมื่อเป็นเอกสารราชการ ทำให้ทุกฝ่ายมองว่าความจริงสวิงมาก ดูไม่น่าเชื่อถือ 2.วันส่งมอบสัตว์ไม่มีการส่งมอบบัตรให้กลุ่มเกษตรกร ซึ่งควรมีสำเนา การฉีดวัคซีน ผลการเทสโรค การได้วิตามิน การถ่ายพยาธิ เราไม่อาจปฏิเสธว่าเขาเชื่อถือเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในวันแรก อยากให้ตรวจถึงด่านกักกันสัตว์นครสวรรค์ด้วย บางฟาร์มส่งมอบไม่ตรงกันเหมือนเจตนาไม่ให้ชาวบ้านได้ตรวจสอบ ซึ่งชาวบ้านบอกว่าเจ้าหน้าที่เหมือนเป็นพนักงานบริษัท 3.ป.ป.ช.ปัตตานีร่วมเจรจากับสื่อ เมื่อชาวบ้านขอร้องให้ตรวจสอบ 1.น้ำหนักวัวเป็นประเด็นสำคัญที่ชาวบ้านร้องเรียน การเดินทางอาจทำให้น้ำหนักลดเมื่อวัวมาถึง การไปตรวจสอบคือหลังจากส่งไปแล้ว 3-4 สัปดาห์ น้ำหนักลดลงจากต้นทางไม่ใช่ข้ออ้างจากผู้ขาย และอาจมองว่าชาวบ้านเลี้ยงไม่ดี น้ำหนักขาดเหลือไม่ควรเกิน 5-10 กิโลกรัม ที่เกษตรกรโวยวายคือ มันลดลงไปเยอะ 2.ต้องเอาวัวน้ำหนัก 170 กิโลกรัมมา เมื่อเดินทางและน้ำหนักลดลงจึงจะเหลือเป็นปกติ โครงการนี้อยู่นอกเหนือจากระเบียบพัสดุอย่างไร สัญญาซื้อขายอยู่นอกระเบียบ มีผู้ขายรายเดียวในโครงการระดับพันล้านแบบนี้เป็นข้อบกพร่อง ชาวบ้านเชื่อถือเรา เขามาในสถานที่ราชการทั้ง 16 กลุ่ม เขาเชื่อว่าราชการต้องคัดกรองให้แล้ว จะมาอ้างว่าเกษตรกรตกลงกับผู้ขายกันเองไม่ได้ ตอนส่งวัวเขาก็เชื่อว่าปศุสัตว์ดูแล อย่าให้เขาเสียศรัทธา แล้วแม่พันธุ์พื้นเมือง พ่อพันธุ์หัวนอก ซึ่งเป็นสเปคแบบนี้มันเป็นการล็อคสเปคหรือเปล่า”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น