วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2566

พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด จังหวัดศรีสะเกษ

        วันอาทิตย์ที่ 22 ตุลาคม 2566 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง) พร้อมด้วย นายมานะ ศิริพิทยาวัฒน์ รองเลขาธิการ ป.ป.ส. และคณะ ลงพื้นที่ตรวจราชการและตรวจเยี่ยมดูงานด้านการป้องกัน การบำบัดรักษา และการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ณ โรงเรียนเขื่อนช้างวิทยาคาร ตำบลเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ และพื้นที่ปฏิบัติงานของชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ตำบลเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ

นโยบายการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน มีจุดเน้นโดยการส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีบทบาทในการป้องกัน เฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนมากขึ้น ซึ่งสถานการณ์ยาเสพติดที่ผ่านมาในตำบลเขิน อำเภอน้ำเกลี้ยง จังหวัดศรีสะเกษ พบว่ามีการแพร่ระบาดของยาเสพติดรุนแรง เด็กและเยาวชนเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดจำนวนมาก จนส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ 


ในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ ต้องดำเนินการลดความต้องการใช้ยาเสพติดให้ได้ ซึ่งการเอาชนะยาเสพติดในระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ต้องสลายโครงสร้างปัญหาด้วยการลดและขจัดอิทธิพลของกลุ่มผู้ค้ายาเสพติดหรือเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง ทำให้ประชาชนในพื้นที่มั่นใจที่จะเข้าร่วมแก้ไขปัญหาเป็นอันดับแรก พร้อมทั้งดำเนินมาตรการทุกด้านทั้งการป้องกัน บำบัดรักษา ปราบปราม และพัฒนาประสานสอดคล้องด้วยกลไกและกระบวนการดำเนินงานโดยหน่วยงานภาครัฐที่ดูแลรับผิดชอบพื้นที่ควบคู่กับพลังภาคประชาชนที่จะรักษาพื้นที่ในระยะต่อไป 



จังหวัดศรีสะเกษร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ส. โดยสำนักงาน ปปส.ภาค 3 ขับเคลื่อนการจัดตั้งชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ขึ้นมา โดย ชรบ. ทุกคนต่างปฏิบัติหน้าที่กันอย่างแข็งขันและจริงจัง ทำให้ปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งแต่ปี 2564-2566 ลดลงร้อยละ 34.4 (อ้างอิงจากข้อมูลสถิติด้านการค้าและการแพร่ระบาดยาเสพติดของระบบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ : CRIMES) คนในหมู่บ้าน/ชุมชนหันมาเห็นความสำคัญและร่วมมือกันดูแลสอดส่อง เฝ้าระวังปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในหมู่บ้าน อีกทั้งกลไก ชรบ. ยังเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยกดดันผู้ค้าผู้เสพด้วยสันติวิธี จนทำให้ปัญหาในชุมชนเริ่มคลี่คลายและกลับมาเข้มแข็งอีกครั้งด้วยมือของคนในชุมชนเพื่อคนในชุมชน

ผู้ผลิต/ผู้ค้ายาเสพติดจะต้องถูกดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจัง และเปิดโอกาสให้บุคคลที่เคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ทั้งจากเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และผลประโยชน์ ชักนำให้ละเลิกพฤติกรรม ด้วยการปรับเปลี่ยนทัศนคติ และปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตตามแนวทางการสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยื

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น