เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 9 ต.ค. 66 ที่ห้องประชุมเรือนจำ จ.นราธิวาส นายกูเฮง ยาวอหะซัน เลขานุการ รมว.ยุติธรรม นายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ปธ.คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุยชน และทีมงานของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรมและ หน.พรรคประชาชาติ ได้ร่วมเดินทางมารับฟังปัญหาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม 4 หน่วยงานหลักที่ขึ้นตรง อาทิ สำนักงานคุมประพฤติ จ.นราธิวาส, สำนักงานบังคับคดี จ.นราธิวาส, เรือนจำ จ.นราธิวาส, สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จ.นราธิวาส และ สำนักงานยุติธรรม จ.นราธิวาส ซึ่งมีหัวหน้าหน่วยในสังกัด รวมไปถึงผู้อำนวยการส่วนต่างๆ เข้าร่วมประชุมจำนวนกว่า 20 คน โดยใช้เวลานานร่วม 3 ชั่วโมง
ซึ่งในที่ประชุมได้ข้อสรุปปัญหาต่างๆเพื่อรวบรวมให้ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รมว.ยุติธรรม ได้นำไปพิจารณาแก้ไขปัญหาที่ค้างคามานาน เพื่อเป็นขวัญกำลังใจต่อเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรม อาทิ ค่าตอบแทนพิเศษของเจ้าหน้าที่ ซึ่งไม่ได้โคต้าจากจังหวัดไม่มีเหมือนหน่วยงานอื่นๆ ค่าเดินทางไปราชการต้องควักกระเป๋าตัวเอง รวมไปถึงอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในสำนักงานเสื่อมสภาพ ต้องควักกระเป๋าตัวเองซื้อมาใช้ทดแทน โยเฉพาะอย่างยิ่งเรือนจำ จ.นราธิวาส ซึ่งถือว่าเป็นเรือนจำที่ใหญ่มีค่าใช้จ่ายในเรื่องของเครื่องสาธารณูปโภค ค่าน้ำ ค่าไฟ ที่สูงกว่าเรือนจำปกติ ที่ไม่มีงบใช้จ่าย ที่สำคัญไม่มีระบบบำบัดน้ำเสียและต้องใช้เงินก้อนโตในการก่อสร้าง
ด้าน นายกูเฮง ยาวอหะซัน เลขานุการ รมว.ยุติธรรม กล่าวว่า เป็นเวลานานกว่า 20 ปี มีปัญหาเรื่องสิทธิมนุษยชนเยอะ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มันเกี่ยวข้องโดยตรงกับคน 3 จังหวัด จริงๆแล้วกระทรวงยุติธรรมเกี่ยวข้องกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเสมอภาคเรื่องสิทธิมนุษยชนเยอะที่สุด และถูกกระทำมากที่สุดตั้งแต่มีกฎหมายพิเศษ 2 ฉบับด้วย วันนี้จะทำอย่างไรให้เรื่องนี้กลับมา ในการต่อสู้ไม่ใช่ว่าจะใช้อำนาจอะไร ท่าน รวม.ยุติธรรมกำชับว่าต้องใช้หลักยุติธรรม มาใช้แก้ปัญหาต่างๆต้องแก้ปัญหาด้วยกฎหมาย วันนี้เราไม่สามารถจะทำหรือยกเลิกกฎหมายพิเศษอะไร หรือแม้จะยกเลิกบางส่วน ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้หมด วันนี้ความรู้สึกความเหลื่อมล้ำการใช้อำนาจในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดน ก็จะทำอย่างไรให้กฎหมายเหล่านี้เสมอภาคให้เท่าเทียมกันทุกคนที่อยู่ในประเทศไทยนี้
ด้านนายกมลศักดิ์ ลีวาเมาะ ปธ.คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุยชน กล่าวว่า กำหนดระยะเวลาในวันที่ 20 ตุลาคมนี้ ซึ่งเชื่อว่าก่อนการครบกำหนดจะมีการประชุม ซึ่งโดยหลักการแล้วเชื่อว่า พ.ร.ก.ฉุกเฉินควรมีการยกเลิก ซึ่งวิธีการที่จะยกเลิกนั้นจะมีการยกเลิกเพียงครั้งเดียวหรือทยอยยกเลิกซึ่งต้องมีการมาคุยกัน และเชื่อว่า พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม มีอำนาจพิจารณาต่อ พ.ร.ก.เป็นมติของครม. น่าจะส่งเสียงสะท้อนว่าตอนนี้เท่าที่ทราบข้อมูลโอกาสที่จะยกเลิกครั้งเดียวนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะเราเองก็เข้าใจหลายๆฝ่าย ซึ่งการยกเลิกนั้นอย่างน้อยต้องหามาตรการอย่างอื่นรองรับด้วยในคราวเดียวกัน ซึ่ง พ.ร.ก.ไม่ใช่เป็นมาตรการหรือกฎหมายในการป้องกันการกระทำผิด แต่เป็นกฎหมายป้องปรามนั่นหมายความว่ากฎหมายในการปราบปราม ซึ่งเมื่อเกิดเหตุแล้วสามารถเข้าถึงผู้ต้องสงสัยที่คาดว่าจะก่อเหตุได้ง่าย เป็นเครื่องมือในการใช้หลังเกิดเหตุ ไม่ใช่เครื่องมือในการใช้ป้องกัน เพราะฉะนั้นถ้าจะมีการยกเลิก พ.ร.ก.จะต้องมีมาตรฐานป้องกัน ซึ่งจะต้องใช้มาตรการอย่างอื่น แต่อย่างน้อยนั้นก็ยังมีกฎอัยการศึกอีก 7 วัน ซึ่งอำนาจของฝ่ายทหารก็ยังคงมีอยู่ในพื้นที่ และยังมี พ.ร.บ.ความมั่นคงอีก ซึ่งไม่ได้หมายความว่าถ้าไม่มี พ.ร.ก.แล้ว จะไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินตามไปด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น