วันอาทิตย์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2566

พิษณุโลก เปิดคัมภีร์ ชลประทาน จ่อคิวงานสร้างเขื่อนท้ายเมืองสองแคว ตามคำบัญชา ของ นายกฯ เศรษฐา ที่เพิ่งมาเยือน แก้ปัญหาทุกข์ของคนเมือง น้ำประปาขุ่น

 


พิษณุโลก เปิดคัมภีร์ ชลประทาน จ่อคิวงานสร้างเขื่อนท้ายเมืองสองแคว ตามคำบัญชา ของ นายกฯ เศรษฐา ที่เพิ่งมาเยือน แก้ปัญหาทุกข์ของคนเมือง น้ำประปาขุ่น ก่อนสั่งการให้ทำทันที เผยข้อมูลชลประทานวางงบ 1.6 พันล้านใช้เวลาสร้าง 5 ปี ไม่ต้องเวนคืนที่ดิน ไม่ต้องทำ EIA   

วันนี้ 15 ตุลาคม 66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สืบเนื่องจาก นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะเดินทางไปยังโรงผลิตน้ำประปา ของเทศบาลนครพิษณุโลก ต.หัวรอ วานนี้ 14 ต.ค.เนื่องจากคนเมืองทนทุกข์กับระบบน้ำประปาขุ่นหนักในฤดูฝน จนเกิดวิวาทะว่า  จะต้องทำประชาคม เพื่อโอนถ่าย ระบบประปาให้ การประปาส่วนภูมิภาคหรือไม่ ทำให้ นายกฯ ฉุน บอกว่า ใครรับผิดชอบดูแลประปานั้นไม่สำคัญ ขอให้ทำน้ำประปาให้ประชาชนพอใจเท่านั้น โดยนายภูสิต สมจิตต์ ผู้ว่าฯพิษณุโลก นำเสนอน่าจะสร้างเขื่อนท้ายเมืองพิษณุโลกด้วยงบประมาณ 1.6 พันล้านตามแผนงานปี 69 โดยนายกฯเศรษฐา ประกาศยืนยัน จะต้องสร้างให้เร็วที่สุดในปี 67 ได้หรือไม่ สร้างความแตกตื่นแก่ข้าราชการและประชาชนฟังอย่างมาก เพราะเริ่มความหวังขึ้นมา เขื่อนฯจะทำให้น้ำนิ่งและใส ง่ายต่อการบำบัดก่อนป้อนสู่ท่อประปาหล่อเลี้ยงคนเมืองทั้งย่านเศรษฐกิจ โรงแรม-หอพักธุรกิจ ร้านค้าที่กระจายตัวในฐานะเมืองรอง

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีชลประทาน ขานรับทันที ว่าเป็นความคิดที่ดี เพราะห่างจากเขื่อนสิริกิติ์ 200 กม. แถมยังก่อเกิดประโยชน์พื้นที่เกษตรกรรม 38,500 ไร่ แก้ปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งยังยืน โดยนายกฯสั่งการให้ทำทันที อย่างน้อยปีหน้า ให้ดูแนวทางหรือปัญหาติดขัดหรือผลกระทบใดๆหรือไม่ ควรเร่งแก้ไขปัญหา 

ผู้สื่อข่าวสำรวจข้อมูล ตามที่เคย นายชำนาญ ชูเที่ยง ผู้อำนวยการโครงการชลประทานพิษณุโลก เคยนำเสนอในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า   

อาคารบังคับน้ำท้ายเมืองพิษณุโลก ตั้งบริเวณพื้นที่ของศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร ต.งิ้วงาม อ.เมือง จ.พิษณุโลก (สร้างบริเวณช่องลัดของแม่น้ำน่าน) ลักษะโครงการ ก่อสร้างประตูระบายน้ำขนาด 7 ช่อง กว้าง 12.5 ม. x สูง 8.0 ม.งบประมาณ ค่าก่อสร้างประมาณ 1,600 ล้านบาท ทำประโยชน์เก็บกักน้ำในแม่น้ำน่าน ได้ประมาณ 40 ล้าน ลบ.ม. สนับสนุนพื้นที่การเกษตรประมาณ 23,500 ไร่ และยกระดับน้ำในแม่น้ำน่าน เป็นแหล่งน้ำสร้างความมั่นคงสำหรับการอุปโภค-บริโภค ปศุสัตว์ ประมง(ปลากระชัง) แหล่งเพาะพันธ์สัตว์น้ำ รักษาระบบนิเวศน์ และ รักษาเสถียรภาพความมั่นคงของตลิ่ง ยังรวมถึงเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวริมฝั่งแม่น้ำน่าน

ส่วนการจัดทำรายงานศึกษาสิ่งแวดล้อม(EA) ของโครงการเขื่อนทดน้ำท้ายเมืองพิษณุโลก ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายใหม่ ไม่ต้องทำรายงาน EA.เพียงจัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมโครงการ (FS: Feasibility Study) ในการจัดทำขออนุญาตก่อสร้างกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กรมเจ้าท่า เพราะพื้นที่ก่อสร้างอยู่ในช่องลัดของแม่น้ำน่านเป็นการสร้างบนพื้นที่ไม่ได้สร้างในแม่น้ำน่าน และก่อสร้างในสถานที่ราชการเป็นที่ราชพัสดุ ไม่ต้องมีการเวนคืนที่ดินของประชาชน ทำให้ไม่มีผลกระทบเรื่องที่ดิน และ กระทบกับประชาชน รวมถึงระบบนิเวศน์ในแม่น้ำน่าน ระหว่างการก่อสร้างสามารถ เสนอ ของบประมาณ ในการ สำรวจ เจาะธรณี และออกแบบโครงการ เพื่อของบประมาณในการก่อสร้าง ซึ่งใช้เวลาในการก่อสร้างหัวงาน 5 ปี 

อาคารบังคับน้ำในแม่น้ำน่าน เหมือน เขื่อน”ผาจุก” จ.อุตรดิตถ์ ตอนบนของแม่น้ำน่าน เอื้อประโยชน์คือ

 1 ที่ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรกรรม และการอุปโภค-บริโภค

2) สามารถยกระดับและกักเก็บน้ำ เพื่อส่งน้ำโดยแรงโน้มถ่วงให้กับพื้นที่เพาะปลูกได้เป็นลำดับแรก และกักเก็บน้ำให้กับสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าปัจจุบัน-ก่อสร้างใหม่ ตามลำดับ

3) ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ได้รับผลกระทบจากระยะเก็บกักของฝ่ายหรืออาคารบังคับน้ำที่มีอยู่เดิมด้านท้ายน้ำ เพื่อป้องกันปัญหาการระบายน้ำ

4) ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อโครงสร้างอาคารปัจจุบันด้านท้ายน้ำ เช่น สะพาน แพ

5) พิจารณาเปรียบเทียบการก่อสร้างอาคารในช่องลัดน้ำ /ก่อสร้างอาคารในลำน้ำในแต่ละจุดที่พิจารณาอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำน่าน

5.1) อาคารในช่องลัดน้ำ บริเวณที่ตั้งไม่ควรมีสภาพเป็นที่ลุ่ม หรือมีระดับพื้นที่ต่ำกว่าพื้นที่ข้างเคียง ซึ่งจะทำให้ถนนเข้าหัวงาน มีลักษณะเป็นคันกั้นน้ำ

5.2) อาคารในลำน้ำ ลำน้ำบริเวณที่ตั้งอาคารมีสภาพค่อนข้างตรง มีระดับตลิ่งสูงมากพอที่จะไม่ทำให้น้ำที่เก็บกักไหลลันตลิ่งพิจารณาช่องผันน้ำระหว่างก่อสร้าง

6) มีพื้นที่เพียงพอต่อการจัดวางอาคารประกอบหัวงาน และมีผลกระทบต่อบริเวณพื้นที่ข้างเคียงในระดับที่ยอมรับได้

/ป๊อกกองปราบ ภาพ-ข่าว/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น