วันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2566

สภ.พัทยา บูรณาการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ Active Shooter "หนี ซ่อน สู้" ในศูนย์การค้า

      วันที่ 27 ต.ค.66 พ.ต.อ.พาติกรณ์  ศรชัย รอง ผบก.ภ.จว.ชลบุรี พร้อมด้วย พ.ต.อ.ฐนพงศ์  โพธิ์ทิ ผกก.สภ.เมืองพัทยา บูรณาการร่วมทุกภาคส่วน ทำการฝึกซ้อมแผนเผชิญเหตุ Active Shooter หนี ซ่อน สู้ ในศูนย์การค้าเซ็นทรัลพัทยา จ.ชลบุรี เพื่อป้องกันเหตุตามกลยุทธ์ ยุทธวิธี เป็นการเตรียมความพร้อมซักซ้อมการปฏิบัติงาน ในการเผชิญเหตุ อีกทั้งเพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจในการดูแลความปลอดภัย และให้ความรู้กับประชาชนในการเตรียมพร้อมรับมือ หากเกิดสถานการณ์จริงขึ้น รวมทั้งเพื่อให้เกิดทักษะ ในการป้องกัน ช่วยเหลือและการหนีเอาตัวรอด เมื่อเผชิญเหตุเบื้องต้นจะต้องทำอย่างไร การรับรู้สถานการณ์ การฝึกทักษะ หนี ซ่อน สู้ และทราบถึงกระบวนการในการป้องกันและการเผชิญเหตุในพื้นที่ เพื่อให้ผู้เผชิญเหตุรอดปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


 

จากนั้นได้มีการจำลองเหตุการณ์คนร้ายกรายิงในศูนย์การค้า โดยมี หน่วยงานที่เข้าร่วม ประกอบด้วย  เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองพัทยา เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองอำเภอบางละมุง เจ้าหน้าที่ ตม. เจ้าหน้าตำรวจท่องเที่ยว เจ้าหน้าที่เทศกิจเมืองพัทยา เจ้าหน้ามูลนิธิสว่างบริบูรณ์ พนักงานศูนย์การค้าเซ็นทรัลพัทยา ตัวแทนศูนย์การค้าเทอร์มินอล21 พัทยา และอาสาสมัครตำรวจชุมชน เข้าร่วมฝึกการเผชิญเหตุ และนำหลัก Active Shooter หนี ซ่อน สู้ มาใช้ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น


  

พ.ต.อ.พาติกรณ์  ศรชัย รอง ผบก.ภ.จว.ชลบุรี กล่าวว่า สำหรับการการซ้อมแผนเผชิญเหตุ หนีซ่อน



สู้ Active Shooter ในครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายของ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ที่ให้ความสำคัญในการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุต่าง ๆที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะเหตุวิกฤติที่เกิดขึ้นในปัจจุบันการกราดยิงหรือ Active Shooter ซึ่งการซักซ้อมแผนก็เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าตำรวจสภ.เมืองพัทยาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในการที่พร้อมเข้าเผชิญเหตุวิกฤตและเหตุรุนแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งจะต้องเตรียมความพร้อมในระดับสูงสุด อีกทั้งการซักซ้อมในครั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ รวมทั้งยังเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ 

     ทั้งนี้สำหรับการซ้อมแผนเผชิญเหตุ หนีซ่อน สู้ Active Shooter จะมีการจัดซ้อมอย่างต่อเนื่องต่อไป เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการสร้างความปลอดภัย ดังนั้นการจัดการของเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้อง รวดเร็ว ฉับพลัน จับให้ได้ จับให้เร็ว หยุดการฆ่าให้เร็ว หยุดการตายให้ได้ เมื่อมีคนบาดเจ็บเกิดขึ้นหน่วยที่เกี่ยวข้องต้องช่วยเหลือพยาบาล เพื่อให้การสูญเสียน้อยที่สุด ส่วนภาคประชาชนนั้นจะมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง โดยจะการเข้าไปฝึกซ้อมทั้งในชุมชน และโรงเรียน เพื่อลดการสูญเสียต่อไป

/เก่ง ณ สงขลา รายงาน/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น