วันพุธที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2566

สื่อมวลชนนครสวรรค์ และชมรมสื่อออนไลน์ภาคเหนือ 17 จังหวัด เยี่ยมชมโรงไฟฟ้าลำตะคองฯ

 คณะสื่อมวลชน มีสมาคมนักหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนนครสวรรค์ พร้อมชมรมสื่อออนไลน์ ภาคเหนือ 17 จังหวัดได้เดินทางมาชมความพร้อมของโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ" 


วันที่ 3 ตุลาคม 2566 นายพงษศักดิ์ ธงศรี หัวหน้าแผนกเดินเครื่องกะ2โดยมีคุณพรรณทิพย์ อัชฌาสัย หัวหน้ากองประสานสื่อสารสายงานหลักคุณณิชชนันทน์ สวัสดิ์พานิช หัวหน้ากองประชาสัมพันธ์และชุมชนสัมพันธ์ระบบส่ง นางฐิติภัทร์ ภาณุไพศาล วิทยากรระดับ 9 กองประสานสื่อสารสายงานหลัก ฝ่ายสื่อสารและประชาสัมพันธ์องค์การการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ายชัชวาลย์ กุลสุวรรณ์  ช่างระดับ 8 ฝ่ายปฏิบัติการภาคเหนือ  นายพันธ์ศักดิ์ ทองพิทักษ์ หน.สนง.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจังหวัดนครสวรรค์ ฝ่ายปฎิบัติการภาคเหนือ และทีมงานร่วมนำ นางนันทนา คล้ายนุ้ย นายกสมาคมนักหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนนครสวรรค์ และนายวิวรรธน์ แพ่งสุภาประธานชมรมชมรมสื่อออนไลน์ภาคเหนือ17จังหวัด


มาชมการผลิตของ“โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา”มีความหมายว่า โรงไฟฟ้าลำตะคองเป็นที่พัฒนาแสงไฟด้วยน้ำ ตั้งแต่วันที่ 17กรกฎาคม พ.ศ. 2552 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปเปิดโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา ในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556 นับเป็นโรงไฟฟ้าแห่งสุดท้ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามอันเป็นสิริมงคล

 โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา  เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ ตั้งอยู่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา  มีลักษณะเป็นโรงไฟฟ้าใต้ดิน (Underground Powerhouse) แห่งแรกและแห่งเดียวของประเทศไทย อยู่ลึกจากผิวดินประมาณ 350 เมตร มีขนาดกว้าง 23 เมตร ยาว 175 เมตร สูง 47 เมตร เพื่อเพิ่มระยะทางจากอ่างเก็บน้ำบนเขาถึงอาคารโรงไฟฟ้าให้น้ำที่ไหลลงมามีกำลังแรงขึ้น  มีอ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยงสร้างแบบหินถมดาดด้วยยางมะตอย (แอสฟัลท์) เพื่อป้องกันน้ำซึมออกจากอ่าง เก็บกักน้ำได้ 10.3 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ผิวน้ำ 0.34 ตารางกิโลเมตร  โดยมีระบบส่งไฟฟ้า 2 ระยะ คือ ระยะแรก ใช้สายส่งขนาด 230 กิโลโวลต์ 4 วงจร เชื่อมกับแนวสายส่ง 230 กิโลโวลต์ของสถานีไฟฟ้าแรงสูงสระบุรี 2 และนครราชสีมา 2 ที่มีอยู่เดิม ระยะทาง 15 กิโลเมตร , ระยะที่สอง ใช้สายส่งขนาด 230 กิโลโวลต์ วงจรคู่เชื่อมกับสถานีไฟฟ้าแรงสูงท่าลาน 3 ระยะทาง 95 กิโลเมตร


โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา  การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)  พิจารณานำเทคโนโลยีที่ทันสมัย คือ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ มาสร้างโรงไฟฟ้าในภาคนี้เป็นแห่งแรกของประเทศไทย ทำงานโดยการสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำของเขื่อนกรมชลประทาน ไปเก็บไว้ที่อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยง ในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อยหรือช่วงกลางคืนถึงเช้า และเมื่อมีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงในช่วงกลางวันถึงค่ำ จะปล่อยน้ำเพื่อผลิตไฟฟ้า และปล่อยลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคองเหมือนเดิม เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2537 อ่างพักน้ำบนเขายายเที่ยงสร้างแบบหินถม ดาดด้วยยางมะตอยเพื่อป้องกัน เก็บกักน้ำได้ 10.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ตัวอาคารโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา ถูกสร้างไว้ใต้ระดับผิวดินลึกกว่า 350 เมตร เป็นโรงไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า จำนวน 2 เครื่อง ใช้กังหันน้ำแบบสูบกลับชนิด Vertical Shaft Francis Type มีกำลังการผลิตติดตั้งรวม 500 เมกะวัตต์ ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จและนำไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเมื่อปี พ.ศ.2547 นับเป็นโรงไฟฟ้าที่มีส่วนสำคัญในการเพิ่มกำลังผลิตในช่วงเวลาที่ความต้องการไฟฟ้าสูง ช่วยเพิ่มความมั่นคงในระบบไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมในภูมิภาคนี้ 

 ปัจจุบันโรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา มีกำลังผลิตตามสัญญารวม 1,000 เมกะวัตต์  สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าประมาณปีละ 400 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น