วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2567

รมว.ยุติธรรม ประชุม ติดตาม การขับเคลื่อนการแก้ปัญหายาเสพติดภาคประชาชน

       ที่ห้องประชุมเล็ก โรงแรมมหา วิทยาลัยราชภัฎยะลา อ.เมือง จ.ยะลา พ.ต.อ.ทวี สองส่อง  รมว .ว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธาน ประชุมคณะทำงานการขับเคลื่อนการแก้ปัญหายาเสพติดภาคประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมี คณะทำงานขับเคลื่อนที่มี พล.อ.วิชาญ สุขสง เป็นหัวหน้าคณะยุทธศาสตร์ ได้รายงานถึงความคืบหน้าในการ ลงพื้นที่ ประชุม กับ ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น และ แกนนำอาสาระดับตำบลในรอบ 2 เดือน ที่ผ่านมา ซึ่งมีการประชุมระดับจังหวัด 2 จั้งหวัด คือ จ.ยะลา และ นราธิวาส และการ ประชุมระดับตำบล 53 ตำบล โดยการ ขับเคลื่อน ทั้งหมด มีเป้าหมายเชิงคุณภาพ และเป้าหมายเชิงปริมาณ มีปัญหา อุปสรรค หลายอย่าง แต่คณะทำงานไม่กล่าวถึง เพราะทุกฝ่ายมีความมุ่งมั่น ที่จะเห็นความสำเร็จของการ ขับเคลื่อน เพื่อการแก้ปัญหา
โดย ดร.สมบัติ โยธาทิพย์ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฎ  ที่เป็นกรรมการคณะทำงาน ได้ กล่าวว่า จากการขับเคลื่อน การแก้ปัญหายาเสพติดภาคประชาชน พบว่าผู้เข้าร่วมแก้ปัญหาภาคประชาชน ให้ความสนใจ เรื่องกีฬา เรื่องอาชีพ และ ยังมีความไม่เข้าใจ เห็นว่างานในเชิงคุณภาพ ต้องทำให้เห็นผลพื้นที่ละ 2 ตำบล ให้เป็นผลสำเร็จ และค่อยๆขยายไปยังพื้นที่อื่นๆ
ในขณะที่ ดร.มังโสด หม๊ะเต๊ะ กรรมการคณะขับเคลื่อน ซึ่งเป็นเจ้าของสถานศึกษา โรงเรียนเอกชน สอนศานาอิสลาม ได้ แจ้งในที่ประชุมถึง ปัญหาอุปสรรค ของผู้ติดยาเสพติด ที่เป็น นักศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ที่ ผู้ปกครองไม่ยินยอม ให้ บุตร หลาน ของตนเองที่ติดยาเสพติด เข้ารับการบำบัดในศูนย์บำบัดรวม เพราะเกรงว่าจะไปไปบำบัดและมีการสร้างเครือข่าย กับผู้เสพติดที่เข้ารับการบำบัดด้วยกัน ซึ่งจะมีปัญหาตามมาในภายหลัง จึงขอให้มีการพิจารณาในปัญหาดังกล่าว ในการที่ต้องมีศูนย์บำบัดเฉพาะ สำหรับ นักเรียน นักศึกษา ในโรงเรียนเอกชน สอนศาสนาอิสลาม
โดย พ.ต.อ.ทวี สองส่อง ได้เล่าถึง การไปดูงานเรื่องการแก้ปัญหายาเสพติดในต่างประเทศ ที่เขามาได้เน้นเรื่องยาเสพติดเป็นด้านหลัก แต่เน้นในเรื่อง การศึกษา การให้ความรู้ และ การมีอาชีพ หลักการฟื้นฟู ซึ่งให้มีการประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหา  ต้องให้ เขามีความฝัน มองเห็นอนาคต และคนในพื้นที่ต้อง แจ้งให้หน่วยงาราชการรับรู้ ถึงปัญหาของยาเสพติด เพื่อให้ได้รับรู้ ว่าได้ผล หรือไม่ได้ผล ในโครงการต่างๆ ที่มีการลงไปในพื้นที่ โดย เน้นที่ 53 ตำบล เป็นด้านหลัก เรื่องของการบำบัด เป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องดูรายละเอียดว่าจะ ทำอย่างไร สิ่งสำคัญคือ คนติดยาเสพติด กลัวการบำบัด แต่ไม่กลัวการติดคุก เพราะการอยู่ในเรือนจำมี ข้าวกิน มีความเป็นอยู่ที่ สบายกว่าการเข้ารับการบำบัด
ซึ่ง สุดท้าย พล.อ.วิชาญ สุขสง ประธานคณะยุทธศาสตร์ การขับเคลื่อนการแก้ปัญหายาเสพติดภาคประชาชน ได้ สรุปว่า ในห้วงของการเข้าสู้ เดือนรอมฎอน จะใช้วิธีการขับเคลื่อน โดยการ ประชุมกลุ่มย่อย ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ ผู้นำศาสนา และ แกนนำอาสาตำบล เพื่อให้ทราบแนวทางในการ ปฏิบัติ พร้อมทั้งเขียนโครงการเพื่อของบประมาณในการขับเคลื่อน ทั้งเรื่อง กีฬา เรื่องอาชีพ และ อื่นๆ หลังเดือนรอมฎอน จะมีการนำตัวแทนทั้ง 53 ตำบล ไปดูงานการแก้ปัญหายาเสพติดที่ วัดเพนียด ต.ทาอิฐ และที่  อ.ลพบุรี เพื่อให้ แนวทาง ของการ ขับเคลื่อน ที่ประสพความสำเร็ขของภาคประชาชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น