วันอาทิตย์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2566

กาญจนบุรี – สมาคมกีฬาคูราช แห่งประเทศไทยเตรียมผลักดัน ไปสู่เอเชียนเกมส์

สมาคมกีฬาคูราช แห่งประเทศไทยเตรียมผลักดัน ไปสู่เอเชียนเกมส์ กีฬาที่เก่าแก่อีกชนิดในประเทศ ไทยเกิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 12 ปี ซึ่งคนไม่ค่อยรู้จักมากนัก


วันนี้ 27 ส.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สนามการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 48 กาญจนบุรีเกสม์ ได้จัดเป็นสนามการแข่งขันกีฬา คูราช (KURASH) คูราช เป็นกีฬาการปล้้าต่อสู้ในท่ายืน คล้ายกับมวยปล้ำ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากแถบอุสเบกิสถานเมื่อ 3,500  ปีมาแล้ว “คูราช” เป็นภาษาอุสเบก หมายถึง “การไปให้ถึงจุดหมายอย่างสมเหตุสมผลหรือวิธีที่ยุติธรรม” ในประวัติศาสตร์ของประเทศทางตะวันออกในทวีปเอเซีย ได้กล่าวไว้ว่า “คูราช” เป็นศิลปะการต่อสู้เพื่อป้องกันตัว เป็นกีฬาที่เป็นเอกลักษณ์ การฝึกทักษะของนักกีฬาที่มีความสง่างามต่างกับกีฬาชนิดอื่น  เป็นกีฬาของสาธารณชนเพื่อความสนุกสนาน ตำนานของชาวเอเชียกลาง เมื่อ1,000 ปี ก่อนกล่าวว่า “คูราช” เป็นกีฬาที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดและนิยมฝึกฝนอย่างกว้างขวางในเอเซียกลาง “คูราช” เป็นวิธีที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งในการรักษาสุขภาพทางร่างกายและทางจิตใจของมนุษย์ แต่ไม่ปรากฏแน่นอนว่า “คูราช” ได้เริ่มฝึกฝน หรือ มีกำเนิดครั้งแรกโดยใคร  ที่ไหน  และเมื่อใด  แต่ส่วนมากต่างเห็นพ้องต้องกันว่า “คูราช” เป็นศิลปะการต่อสู้ที่เก่าแก่ประเภทหนึ่งที่ผู้คนฝึกฝนกันมา



“คูราช” ได้กลับมาพัฒนาใหม่ในศตวรรษที่ 8 ผู้คนในเอเชียกลาง สมัยนั้นใช้ “คูราช” เพื่อความสนุกสนาน และเฉลิมฉลองเทศกาลที่สำคัญ ๆ ทางสังคม เช่นวันหยุดพักผ่อน งานสมรส และพิธีฉลองต่าง ๆ “คูราช” ได้พัฒนาจากการเล่นเพื่อความสนุกสนานกลายเป็นกีฬาเพื่อการแข่งขันและการพัฒนาความ แข็งแกร่งของร่างกาย นักกีฬา “คูราช” ที่มีชื่อว่าแข็งแรงที่สุดในศตวรรษที่ 12 คือ พาลาวาน มาฮาหมัด และสุสานที่อุสเบกิสถาน ของเขานับได้ว่าเป็นสถานที่แห่งหนึ่งที่ผู้คนในเอเชียกลาง ไปเคารพบูชา ในศตวรรษที่ 14 สมัยที่ติมอร์รุ่งเรืองและมีความเจริญทางอารยธรรม ได้ใช้ “คูราช” เพื่อฝึกฝนและ พัฒนาความสมบูรณ์แข็งแรงของเหล่าทหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีไปทั่วโลกในสมัยนั้นว่า ทหารติมอร์มีความแข็งแรงเยี่ยมยอดที่สุดไม่มีใครโค่นได้

เมื่อเวลาผ่านไป “คูราช” ได้กลายเป็นที่ยอมรับและเป็นประเพณีนิยมในเอเซียกลาง โดยเฉพาะใน อุสเบกิสถาน อาจจะกล่าวได้เลยว่าคูราชได้ฝังเข้าไปในกระดูกของชาวอุสเบกแล้ว “คูราช”ได้รับ การถ่ายทอดจากพ่อสู่ลูก ชาวอุสเบกในปัจจุบันนี้ประมาณไม่น้อยกว่าสองล้านคนที่สนใจฝึกฝน “คูราช” ไม่นับรวมผู้ที่ชื่นชอบและติดตามกีฬาประเภทนี้ “คูราช” ในยุคปัจจุบัน ประมาณสองทศวรรษก่อน โคมิล ยูซูปอพ (MR.KOMIL YUSPOV) นักกีฬาชาวอุสเบก ผู้มีชื่อเสียงทาง “คูราช” ยูโด และแซมโบ ผู้ที่ปลุกให้คูราชฟื้นขึ้นมาในโลกแห่ง กีฬาได้เป็นผู้เริ่มค้นคว้าศึกษาความเป็นมาของคูราช เทคนิค การเล่น และร่างกฎกติกาของคูราชขึ้นมาใหม่เพื่อให้ทัดเทียมกับมาตราฐานสากล ประมาณต้นปี 2533 ที่เขาจบการค้นคว้าและเริ่มนำ “คูราช” เข้าสู่กีฬาโลกยูซูปอพได้เป็นผู้นำเสนอกติกา “คูราช” ที่ได้ร่างขึ้นมาต่อสาธารณชน และสมาพันธ์ “คูราชนานาชาติ” ได้ให้การรับรองกติกา “คูราช” ของ โคมิล ยูซูปอพ เป็นกติกาอย่างเป็นทางการของสมาพันธ์ “คูราชนานาชาติ” กติกาใหม่นี้ได้รวมส่วนที่ดีที่สุด ของกีฬาประจำชาติให้สอดคล้องเข้ากับมาตรฐานกีฬาสากล เช่น เครื่องแต่งกาย สนามแข่ง ระยะเวลาใน การแข่งขันฯลฯผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาต่างยอมรับว่ากติกา “คูราช” ที่โคมิลยูซูปอพ ได้เป็น ผู้พัฒนาปรับเปลี่ยนนั้นสมบูรณ์ตรงตามความต้องการของการกีฬาสากล

กติกา “คูราช” ที่มีประโยชน์อย่างหนึ่งก็คือ การห้ามปล้ำต่อสู้บนพื้น เมื่อใดที่เข่าของนักกีฬาแตะพื้น กรรมการจะต้องหยุดการแข่งขัน และจะเริ่มการแข่งต่อไปใหม่เมื่อนักกีฬากลับเข้าสู่ท่ายืนแล้ว นอกจากนั้นกติกาจะไม่อนุญาตให้นักกีฬา จับคู่ต่อสู้ต่ำกว่า เข็มขัด ซึ่งเรื่องนี้จะช่วยให้คูราชเป็นกีฬาที่ใช้ความรวดเร็วและน่าสนใจติดตาม นอกไปจากนั้นกติกา “คูราช” ยังห้ามไม่ให้นักกีฬาใช้แขนล็อคคู่ต่อสู้ การหนุนไม่ให้เคลื่อนไหว หรือการใช้เทคนิคอื่น ๆ ที่แปลก ๆ ออกไป อันจะเป็นการช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้นักกีฬาเกิดการบาดเจ็บและทำให้ “คูราช” เป็นกีฬาที่ปลอดภัยที่สุดของศิลปะการ ต่อสู้ประเภทหนึ่ง

เมื่ออุสเบกิสถานได้รับการประกาศตัวให้เป็นอิสระจากมอสโคว์ สหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2534  คูราช  ก็เริ่มมีการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ประธานาธิบดีอิสลาม คาริมอฟ ผู้น้ารัฐบาลอุสเบกิสถานคนแรก มีความประสงค์ที่จะฟื้นฟูค่านิยมและจารีตประเพณีของชาวอุสเบกที่ถูกบีบอยู่ภายใต้การปกครอง ของโซเวียต เป็นเวลา70 ปี และ  คูราช  ก็เป็นกีฬาประเภทหนึ่งที่ถูกหยิบยกขึ้นมาพัฒนา เมื่อเดือน เมษายน 2535 ประธานาธิบดีคาริมอฟ ได้พบกับโคมิล ยูซูปอพ เพื่อหารือถึงการพัฒนากีฬาแห่งชาติให้ขยายออกไปทั่วโลก โดยมีจุดประสงค์ว่า  คูราช  จะต้องได้เป็นกีฬาสากลตลอดจน ได้เข้า ไปจัดอยู่ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิค นับจากนั้นเป็นต้นมา โคมิล ยูซูปอพ ก็ได้เริ่มเผยแพร่คูราช เข้าไปในกิจกรรมต่าง ๆ ของอุสเบกิสถาน จัดการแข่งขันหลาย ๆ รายการในภาคต่างๆ ของอุสเบกิสถาน คูราช ประสบความสำเร็จและสร้างผู้เล่น คูราช ท้องถิ่นขึ้นมาเป็นพัน ๆ คน ได้รับการ ต้อนรับอย่างล้นหลามและเฝ้าติดตามจากผู้ชมเป็นล้าน ๆ คนเมื่อมีการแข่งขันในเทศกาลต่าง ๆ ของ อุสเบกิสถาน

ตั้งแต่ 2535 คูราชได้ขยายวงกว้างออกไปจากอุสเบกิสถาน เข้าสู่การแข่งขันระดับสากล นำเข้าสู่ การประชุมสุดยอดกีฬาเกาหลีใต้ แคนาดา ญี่ปุ่น อินเดีย อเมริกา โมนาโค และรัสเซีย ส่งผลให้ มีการจัดการแข่งขันคูราชระดับนานาชาติขึ้นครั้งแรกในเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 ที่ทัชเค็นท์ เมืองหลวงของอุสเบกิสถาน มีนักกีฬาและประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันจากทั่วโลกเกือบ 30 ประเทศ ผู้เข้าชมในวันเปิดสนามแข่งขันไม่น้อยกว่า 30,000 คน และติดตามการถ่ายทอดโทรทัศน์ อีกเป็นล้าน ๆ คน และการแข่งขันคูราชครั้งแรกนี้นับว่าประสบความสำเร็จ ที่นั่งชมการแข่งขัน จำนวน 30,000 ในสนามไม่เพียงพอสำหรับผู้ชม ผู้ชนะเลิศในการแข่งขันครั้งนั้นคือ ซาลิม ตาตาร์ โอกลู นักกีฬาจากตุรกีสหพันธ์คูราชนานาชาติได้จัดตั้งขึ้นที่ทัชเค็นท์ในวันที่ 6 กันยายน 2541 โดยผู้แทน 28 ประเทศ จากยุโรป เอเซีย และอเมริกา เพื่อเป็นองค์กรกีฬาโลกอย่างเป็นทางการของคูราชนานาชาติเป็น ครั้งแรกที่สภาสหพันธ์กีฬาให้การรับรองกติกาคูราชและมีมติเป็นเอกฉันท์ให้น ายโคมิล ยูซูปอพ (MR.KOMIL YUSPOV – PRESIDENT of IKA) ผู้จัดทำกติกาคูราชนานาชาติเป็น นายกของสหพันธ์คูราชนานาชาติ INTERNATIONAL KURASH ASSOCIATION ( IKA)

นับจากสมาพันธ์คูราชนานาชาติได้จัดตั้งขึ้นเมื่อ2541 เป็นต้นมา สมาพันธ์ คูราชเอเซียก็ได้พัฒนา และเริ่มได้รับความนิยมแพร่หลายมากขึ้นในเอเซีย มีประเทศที่เข้าร่วมอยู่ในสมาพันธ์ฯ เวลานี้ 25 ประเทศ มีดร. โมฮัมเหม็ด เดรัคชาน (MOHAMMAD DERAKHSHAN MOBARAKEH) ดำรงตำแหน่งนายกสมาพันธ์คูราชเอเซีย และอุปนายกสมาพันธ์คูราชนานาชาติ

ข่าวภูมิภาคกาญจนบุรี / ปรีชา   ไหลวารินทร์ – รายงาน

หมายเหตุ...เลขาสมาคมกีฬาคูราช (คนแรกสวมสูท) ประธานชมรม คูราช จังหวัดกาญจนบุรี (คนที่สองสวมเสื้อคลุมสีขาว)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น