วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2567

DSI ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกรณีบุคคลร่วมกันยึดครองเอกสารสิทธิที่ดินของชาวบ้านที่รือเสาะ

นำไปเป็นของตนเองให้ได้รับความเป็นธรรมสู่การลงนามรับมอบสิทธิการครอบครองที่ดินให้กับราษฏรเพื่อคืนความสุขให้ประชาชนในพื้นที่

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 26 กันยายน 2567 ที่หอประชุมอำเภอรือเสาะ ณ ที่ว่าการอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส นายซูปียัน แดเมาะเล็ง นายอำเภอรือเสาะ เป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามรับมอบสิทธิการครอบครองที่ดินให้กับราษฏร์ ม.8 บ้านกำปงบารู (บ้านบียิห์) ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส พร้อมด้วยนายเจตนา เหมมุน ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.อ.สิทธิชัย บำรุงเขต ผบ.ฉก.ทพ.46 นายศุภชัย ศุภกิจจารักษ์ ผู้กำกับการสถานีตำรวจรือเสาะ นายสัมพันธ์ เนตรวชิรกุล เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนราธิวาส ส่ขารือเสาะ นายจีรพันธ์ มาชาวป่า หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น ซึ่งมีประชาชนชาวตำบลเรียงกว่า 30 คนเข้าร่วมพิธีลงนามรับมอบอย่างพร้อมเพรียงฯ

ทั้งนี้ตามที่พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานหน่วยงานสังกัดกระทรวงยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งได้ให้นโยบายในการปฏิบัติราชการว่า ให้เน้นงานด้านการอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชน ยุติธรรมเข้าไปหาประชาชน โดยนำความกรณีที่ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ หน่วยงานสังกัดกรมสอบสวนคดีพิเศษ ที่ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติงานสืบสวนสอบสวนคดี พิเศษ ตามพระราชบัญญัติ การสอบสวนคดีพิเศษฯ และการอำนวยความยุติธรรมให้กับ ประชาชนในพื้นที่ ได้รับนโยบายดังกล่าวมาปฏิบัติงานอย่างจริงจัง

โดยสืบเนื่องมาจากกลุ่มผู้ร้องซึ่งเป็นราษฎรในพื้นที่ ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ได้มีการร้องขอความเป็นธรรมไปยัง หน่วยงานราชการหลายหน่วยในห้วงปี 2565 ต่อเนื่อง 2566 โดยได้มีการร้องว่ามีกลุ่มบุคคลทำการยึดถือครอบครองเอกสารสิทธิที่ดินประเภท น.ส.3 ของตนเองนำไปออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งกลุ่มผู้ร้องได้รับความเดือดร้อนจึงได้มีการร้องขอความเป็นธรรมผ่านไปยังสำนักงานยุติธรรมจังหวัดนราธิวาส ซึ่งจากการพิจารณาเห็นว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของในที่ดินซึ่งเชื่อว่าศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะสามารถดำเนินการเรื่องนี้ได้อย่างดีและสามารถอำนวยความยุติธรรมให้แก่ผู้ได้รับความเดือดร้อนในเรื่องนี้ได้ จึงได้ส่งเรื่องดังกล่าวมาให้พิจารณาจากการสืบสวนพบว่าข้อเท็จจริงในเรื่องการขัดแย้งนี้นอกจากเป็นกรณีพิพาทเรื่องสิทธิการครอบครองที่ดินตามเอกสาร น.ส.3 แล้วยังจะพิจารณาด้วยว่าพฤติกรรมของผู้ถูกร้องอาจเข้าข่ายเป็นความผิดอาญาหรือไม่อย่างไร แต่ทั้งนี้คณะพนักงานสืบสวนเห็นว่าการดำเนินการต่างๆนั้นจำเป็นจะต้องดำเนินการด้วยความยุติธรรมและเพื่อยุติความขัดแย้งที่อาจเป็นต้นเหตุของความรุนแรงในพื้นที่ได้ จึงมุ่งประเด็นไปเรื่องอำนวยความเป็นธรรมควบคู่กันไป เนื่องจากพบว่าข้อเท็จจริงในเรื่องการขัดแย้งในที่ดินบริเวณที่ร้องเรียนขัดแย้งกันมาตั้งแต่ปี 2521 และยังไม่สามารถหาทางออกที่ดีได้และเป็นที่พอใจของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด

สำหรับความเป็นมาในเรื่องนี้เริ่มจากเมื่อปี 2510 ใน พื้นที่หมู่ที่ 8 ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส มีกลุ่มทุนจากจังหวัดภูเก็ตซึ่งมีความชำนาญในการประกอบกิจการเหมือง ได้มาซื้อที่ดินที่มีเอกสาร น.ส.3 จากผู้มีชื่อครอบครองเพื่อนำไปประกอบกิจการเหมืองโดยการขุดและร่อนหาแร่ดีบุก มีการซื้อที่ดินของชาวบ้าน โดยได้มีข้อตกลงด้วยวาจากับชาวบ้านผู้ซึ่งมีชื่อเป็นผู้ครอบครองที่ดินตามเอกสาร น.ส.3 ฉบับเดิมว่าเมื่อทำเหมืองเป็นที่พอใจแล้วจะคืนที่ดินให้แก่บุคคลนั้นๆ ต่อมาปี 2518 ผู้ทำ เหมืองได้เลิกประกอบกิจการ และกลุ่มผู้ถูกร้องไปพบนายเหมืองที่จังหวัดภูเก็ต และแจ้งว่ามาขอรับเอกสาร น.ส.3 ที่นายเหมืองได้ซื้อจากชาวบ้านในพื้นที่ โดยจะนำกลับไปมอบให้แก่ผู้มีชื่อเป็นผู้ครอบครองเดิม แต่ภายหลังไม่ยอมจดทะเบียนโอนคืนให้แก่ผู้มีชื่อที่เป็นเจ้าของเดิม แต่กลับนำเอกสาร น.ส.3 ไปจดทะเบียนเป็นของตัวเองและเข้าครอบครองที่ดิน


ซึ่งในปี 2565 กระทรวงมหาดไทยได้มีการประกาศเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

เนื้อที่ประมาณ 200 ไร่เศษ และจากการตรวจสอบสารบบที่ดินพบว่า 1 ใน 9 แปลง เนื้อที่ประมาณ 40 ไร่เศษ สภาพปัจจุบันพบว่าได้มี

ราษฎรมาตั้งบ้านเรือนสร้างบ้านพักอาศัยเป็นหมู่บ้านที่มีบ้านเลขที่จำนวน 57 หลังคาเรือน ไม่มีบ้านเลขที่ จำนวน 11 หลังคาเรือน มีราษฎรประมาณ 242 คน


ซึ่งจากการประสานงานและเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ยระหว่างกลุ่มผู้ร้องกับกลุ่มผู้ถูกร้อง ของคณะพนักงานสืบสวน จนกลุ่มผู้ถูกร้องยินยอมที่จะแบ่งที่ดินให้แก่ชาวบ้านที่ได้ตั้งบ้านเรือนในเขตที่ดินตามเอกสารน.ส.3 แปลงนี้ แต่ติดข้อกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้องในการออกโฉนดที่ดิน รวมถึงเงินค่าใช้จ่ายในการแบ่งแยกที่ดินให้แก่ผู้มีบ้านเรือนตั้งอาศัยอยู่ ส่วนกลุ่มชาวบ้านซึ่งตั้งบ้านเรือนอยู่บนที่ดินมีความต้องการจะได้โฉนดที่ดินแต่ไม่ทราบขั้นตอนกฎหมาย รวมถึงไม่ทราบว่าจะมีค่าใช้จ่าย อย่างไร คณะพนักงานสืบสวนจึงได้ประสานงาน กับสำนักงานที่ดินจังหวัดนราธิวาส และสำนักงานที่ดินจังหวัดนราธิวาส สาขารือเสาะ จนสามารถแก้ไขไว้ว่าจะนำรายชื่อชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนในที่ดินตามเอกสาร น.ส.3 ไปจดทะเบียนเป็นชื่อผู้ครอบครองร่วมกับกลุ่มผู้ถูกร้องตามความยินยอม และเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะนำชาวบ้านซึ่งเป็นเจ้าของบ้านและได้รับ การพิสูจน์สิทธิผ่านอำเภอรือเสาะ ว่าเป็นผู้สมควรที่จะมีชื่อเป็นเจ้าของโฉนดที่ดิน ที่จะออกให้สำหรับเป็นที่ตั้งบ้านเรือน โดยคาดว่าจะนำที่ดินดังกล่าวร่วมโครงการเดินสำรวจในการออกเอกสารสิทธิของกรม ที่ดินในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ต่อไป


ขณะที่นายตอเฮ สาและ อายุ 47 ปี ชาวบ้านที่ได้รับเอกสารสิทธิที่ดินคืน เผยว่าดีใจและขอขอบคุณหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งกรณีนี้เราได้มีการต่อสู้กันมานานมากแล้ว ซึ่งหลังจากนี้เราจะได้มีบ้านเป็นของตัวเอง ซึ่งก่อนหน้านี้เราไม่มีอะไรเลย มีแต่ตัวบ้านและเป็นบ้านที่ไม่มีบ้านเลขที่ ขอบ้านเลขที่ไม่ได้ขอไฟฟ้าก็ไม่ได้เดือดร้อนมาก ซึ่งพอมาวันนี้ได้รับเอกสารสิทธิที่ดินแล้ว ชาวบ้านจะได้สามารถไปขอไฟฟ้าและบ้านเลขที่ได้

//นราธิวาส/ข่าว-นูอารีซ๊ะ ยะยือริ//



กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน จัดงาน Creative Space โชว์ทักษะหนุนท่องเที่ยวมูลค่าสูง

วันที่ 25 กันยายน 2567 นางจิรวรรณ สุตสุนทร รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ ภายใต้กิจกรรม “Creative Space การท่องเที่ยวมูลค่าสูง รวมสินค้าดี บริการเด่น   ฝีมือเยี่ยม” โดยมีนายสมชาติ สุภารี ผู้ตรวจราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ร่วมงานในครั้งนี้ด้วย  ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวสต์เกต ลานโปรโมชั่น ชั้น 1 ตำบลเสาธงหิน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

นางจิรวรรณ สุตสุนทร รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า ได้รับมอบหมายจากนางสาวบุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงานมาเป็นประธานในพิธีเปิดงานในครั้งนี้ โดยงานนี้เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามนโยบายของนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน ดำเนินการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานภาคการท่องเที่ยวเป็นการเร่งด่วน เนื่องจากมีความต้องการแรงงานเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในช่วง High-Season ที่กำลังจะมาถึงในช่วงปลายปีนี้ โดยแรงงานที่มีทักษะฝีมือจะมีส่วนสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามายังในประเทศ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่และสร้างรายได้ให้ประเทศเป็นจำนวนมาก แรงงานมีอาชีพ มีรายได้ในการเลี้ยงดูตนเองและครอบครัว รวมถึงเป็นการขับเคลื่อนเป้าหมายและทิศทางตามแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2566 – 2570 ที่ต้องการพลิกโฉมการท่องเที่ยวของประเทศที่เน้นการสร้างคุณค่า (High Value Tourism) ยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีความเข้มแข็งภายใต้แรงงานที่มีทักษะฝีมือ

นางจิรวรรณ กล่าวต่อว่า กิจกรรม “Creative Space การท่องเที่ยวมูลค่าสูง รวมสินค้าดี บริการเด่น ฝีมือเยี่ยม”  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้ประกอบกิจการด้านการท่องเที่ยวมีความพร้อมรองรับการท่องเที่ยวเน้นคุณค่าสูง (High Value Tourism) สร้างแรงจูงใจและอํานวยความสะดวกในการดําเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดนนทบุรีและพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งภายในงานจัดให้มีเวทีเสวนาเรื่อง “เที่ยวสนุกสุขใจ พัฒนาฝีมือแรงงานไทยรองรับการท่องเที่ยวมูลค่าสูง” การจัดนิทรรศการแสดงสินค้า ประชาสัมพันธ์ภารกิจด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน และการสาธิตการประกอบอาชีพ ของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงานในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี ผู้ประกอบกิจการในเครือข่ายการพัฒนาฝีมือแรงงาน จำนวน 20 บูท และผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยว สินค้าดีภายในจังหวัดนนทบุรีและใกล้เคียง ตามนโยบายการส่งเสริมอาชีพ "หนึ่งตำบล หนึ่งอาชีพอิสระ" อีก 30 บูท  เป็นต้น 

“การจัดงานในครั้งนี้มีสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 26 นนทบุรี เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดการ โดยมีสาธิตการฝึกอาชีพจากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพต่าง ๆ และผู้ผ่านการฝึกอบรมที่ประสบความสำเร็จในอาชีพจากสถาบันฯ มีการสาธิตสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ อาทิ การสาธิตการทำกล่องกระดาษทิชชู่ การแต่งหน้าเค้ก นวดหน้าเพื่อความงาม การเพ้นท์เล็บ เป็นต้น ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้แรงงานและประชาชนทั่วไปเห็นถึงสาขาอาชีพที่สามารถสร้างรายได้แบบง่าย ๆ ลงทุนไม่มากแต่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ อีกทั้งมีทิศทางหรือแนวโน้มที่จะขยายตัวมากยิ่งขึ้นในอนาคต” รองอธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวในท้ายสุด



วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

พ.ต.อ.ทวี ประกาศ จะพยุงการดำรงชีวิตของชาวนราธิวาสให้ลืมตาอ้าปาก และลบคำสบประมาณว่าคนนราธิวาส ยากจนที่สุดของประเทศ

วันจันทร์ ที่ 22 กรกฏาคม เวลา 09.00 น -10.30 น พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ประชุมร่วมนายอำเภอระแงะ ตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส ทีมงานยุติธรรมจังหวัดนราธิวาส ตัวแทน ศอ.บต ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำท้องถิ่น นราธิวาส ได้นำคณะ เดินทางต่อยังไปโรงเรียนดารุสลาม เขตเทศบาลตำบลตันหยงมัส อ.ระแงะ เพื่อไปร่วมงานการจัดงานสมทบทุนการก่อสร้างอาคารต่วนฆูรูฮัจญีเปาะซู ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาที่ถือว่าใหญ่ที่สุดของ จ.นราธิวาส


 ในโอกาสนี้ พ.ต.อ.ทวี รมว.ยุติธรรม ได้กล่าวชื่อชมการศึกษาของโรงเรียนดารุสสลาม ที่เป็นสถานที่แห่งแรกสมัยเป็นเลขาธิการ ศอ.บต ได้มาเยี่ยมโรงเรียนแห่งนี้เป็นแห่งแรก ยังจำได้ว่าท่านฟัครุดดีน บอตอ ผู้บริหารโรงเรียนได้กล่าวว่า การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องให้การศึกษานำการเมืองการทหาร โดยเฉพาะโรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาดีมีคุณภาพ มีศิษย์ที่ประสบความสำเร็จมากมาย ที่ศึกษาต่อในประเทศและต่างประเทศ การศึกษาระหว่างโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา กับโรงเรียนของรัฐบาล แม้เงินอุดหนุนให้โรงเรียนเอกชนน้อยกว่าโรงเรียนของรัฐบาลอยู่มาก ถือว่าเป็นความเหลื่อมล้ำการการส่งเสริมการศึกษา แต่ประชาชนก็นิยมส่งลูกหลานให้เรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา เพราะสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ การศึกษามีความสำคัญมาก เป็นเครื่องชีอนาคตที่ดีของประเทศ ยกตัวอย่างในเรื่อนจำจังหวัดนราธิวาส มีผู้ต้องราชทัณฑ์ ทีถูกขั้งมากกว่า 4,000 คน พบว่ามากกว่า 80% เป็นผู้ไม่ได้รับการศึกษา มีการศึกษาระดับประถมศึกษา หรือมีการศึกษาดับมัธยมต้น ที่ต่ำกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ ม 6 ที่รัฐบาลให้เรียนฟรี ซึ่งผู้มีการศึกษาต่ำส่วนใหญ่จะเป็นผู้กระทำผิดยาเสพติดอีกด้วย 


ดังนั้นถือว่าโรงเรียนแห่งนี้ได้สร้างคุณประโยชน์มากมาย เพราะนอกจากสร้างอนาคตที่ดีแล้วผู้ที่จบการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ไม่มีการเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ผมมีความเชื่อมั่นเช่นเดียวกับบาบอที่การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และการแก้ปัญหาความยากจน จะต้องแก้ที่การศึกษา โดยส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ และเป็นการศึกษาที่รัฐสนับสนุนให้เรียนฟรี ผมในฐานะรัฐบาล พยายามที่จะพยุงการดำรงชีวิตของชาวนราธิวาสให้ลืมตาอ้าปาก และลบคำสบประมาณว่าคนนราธิวาส ยากจนที่สุดของประเทศให้จงได้



พิษณุโลก คนยากไร้ ยังเพียบ แห่รับบัตรจองคิว ไว้รอรับแจกข้าวสาร 5 กิโลกรัมในวันเกิดเทพเจ้ากวนอู ปี 67 ปฎิทินจีนระบุ จันทร์ 29 ก.ค. 67

นายกสมาคมฮากา ลั่น พร้อมแจกข้าวเกือบ 2 พันชุด หากใครประสงค์ทำบุญร่วม เชิญบริจาคที่สมาคมฮากก หลังตลาดโคมะตูม 

วันนี้ 22 กรกฏาคม 67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  มีประชาชนจากทั่วสารทิศ ล้วนเป็นคนฐานะไม่ดี มานั่งรอคิว ที่สมาคมฮากกา หลังตลาดโคกมะตูม อ.เมือง ตั้งแต่เช้าเพื่อรอเจ้าหน้าที่แจกบัตรคิว โดยตลอดทั้งวัน คนทุกสถานะต่างมีคนมานั่งรอคิว เพื่อยื่นความจำนงเพื่อขอรับบัตรคิว ไว้สำหรับแลก ข้าวสารเพื่อยังชีพในวันที่ 29 กรกฎาคม 67 คือ 1 บัตรต่อ 1 ถุง (จำนวน 5 กิโลกรัม) 


นายยุ่นถิน ก่อวุฒิพงษ์ (เฮีย อ๋า)  นายกสมาคมฮากกา พิษณุโลก เปิดเผยว่า ผู้คนจำนวนมากอาจเรียกได้ว่า ผู้ที่มีฐานะไม่ดี จึงมารอรับบัตรคิวเพื่อรับข้าวสารวันที่ 29 ก.ค.นี้  ถือเป็นวันสำคัญ คือ วัดเกิดเทพเจ้ากวนอู ซึ่งได้แจกข้าวทุกปี สมาคมฮากา เริ่มแจกข้าวแต่ปี 2558 แต่ละปี แจกข้าวสารจำนวนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับว่า มีผู้บริจาคมากน้อยเพียงใด ปีที่ผ่านมาจัดซื้อข้าวสารจำนวน 2,400 ชุด สำหรับปีนี้ วางแผนไว้ 1,600-1,800 ชุดเป็นอย่างน้อย หากมีผู้บริจาคข้าวมาอีก ก็จะนำไปแจกเพิ่มได้ ประชาชนทั่วไปสามารถบริจาคข้าวสาร ณ.ศาลเทพเจ้ากวนอู หรือ มูลนิธิประชาพัฒนา บริเวณ ถนนสุรงค์เดชะ หลังตลาดโคกมะตูมได้ทุกวัน ก่อนวันเกิดเทพเจ้ากวนอู  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หนังสือสามก๊กระบุ ตัวตน”กวนอู”เป็นยอดขุนพล ซื่อสัตย์ กตัญญู กล้าหาญ หลังได้เสียชีวิตลงได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้า   สำหรับหลักฐานยืนยันวันเกิด”กวนอู”ยุคสมัยพันปีผ่านมาคงยาก แต่ปัจจุบันศาลเจ้ามักจัดงาน "วันคล้ายวันเกิดของกวนอู" อาจไม่ตรงกัน ลัทธิเต๋าระบุว่า กวนอูเกิด 24 เดือน6 บางก็"13เดือน5"ตามปฏิทินจีน ส่วนหลักฐานประวัติศาสตร์ระบุ 22 เดือน 6 ปี ค.ศ.160 ปฏิทินจีน 

คำว่าปฏิทินจีนจึงไม่ตรงกับปฎิทินสากล จัดงาน “วันคล้ายวันเกิดเจ้าพ่อกวนอู” เปลี่ยนไปทุกปี กลายเป็นเหตุวันที่ชัดเจน ศาลเจ้าบางแห่งก็จัดงานวันเกิดทั้ง “กวนอู กวนเป๋ง จิวฉอง”ไปด้วยเลย ล่าสุดปฏิทินจีน ปี 2567 นี้ กำหนดวันคล้ายวันประสูติเทพเจ้ากวนอู (กว้านอี้กง) จันทร์ 29 กรกฎาคม 67 (ตรงกับ วัน 24 เดือน 6) 


วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2567

แม่ทัพภาคที่ 3 มอบบ้านช่วยเหลือผู้ยากไร้สร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

   วันที่ 6 พฤษภาคม 2567 พลโท ประสาน แสงศิริรักษ์ แม่ทัพภาคที่ 3 เป็นประธานในพิธีส่งมอบบ้านช่วยเหลือผู้ยากไร้สร้างคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ให้แก่ นางสาว ปาลิตา เสมอตัว เด็กชาย ไมตรี แกว่นการนา เด็กหญิง นิราภร กัณหา ณ บ้านเลขที่ 310 หมู่ที่ 6 ตำบลวังหิน อำเภอเมิองตาก จังหวัดตาก พร้อมทั้งได้มอบพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี ตลอดจนมอบถุงยังชีพพระราชทาน ชุดเครื่องนอน เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอุปโภค บริโภคแก่ครอบครัว
ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากส่วนราชการ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ในการบริจาควัสดุก่อสร้าง และร่วมแรงร่วมใจในการก่อสร้างบ้านให้แล้วเสร็จและดำเนินการส่งมอบบ้านให้ครอบครัวดังกล่าว

วัยรุ่นทำกิน ข้าวมันไก่อาแป๊ะ10 บาท ถึงกำไรน้อย ก็พออยู่ได้เพื่อลูกค้า

  ที่บริเวณถนนสายกำแพงแสนบางเลนตรงข้ามปั๊มพีทีเส้นกำแพงแสนบางเลนผู้สื่อข่าวได้สังเกตเห็นมีชาวบ้าน มายืนรอต่อคิวเป็นจำนวนมากจึงได้แวะและสอบถามกับเจ้าของร้านข้าวมันไก่อาแป๊ะ 10 บาทว่าทำไมมีคนมารอต่อคิวกันเป็นจำนวนมาก 
ทางด้านนายรัฐชัย  วิบูลย์ชาติ อายุ 30 ปี และนางสาวปริชยา เปรมโพธิ์ อายุ 24 ปี ได้ บอกกับผู้สื่อข่าวว่าวันนี้ได้เปิดร้านข้าวมันไก่อาแป๊ะ 10 บาทและได้โพสต์เฟสในข่าวสารกำแพงแสนว่าวันนี้เปิดร้านเป็นวันแรกซึ่งทำให้คนในข่าวสารกำแพงแสนเห็นว่าข้าวข้าวมันไก่ 10 บาทจึงได้ ติดต่อกับเจ้าของร้านว่าขอเป็นเจ้าภาพเลี้ยงข้าวมันไก่จำนวน 100 ห่อให้กับคนชาวกำแพงแสน และทราบชื่อต่อมา
นายขวัญชัย  เสลาหอม ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงข้าวมันไก่จำนวน 100 ห่อให้กับคนชาวกำแพงแสนจึงทำให้ชาวบ้านทราบข่าวในเฟสจึงทำให้มารอต่อคิวกันเป็นจำนวนมากและทางด้านเจ้าของร้าน ได้พูดกับผู้สื่อข่าวว่าวันนี้เป็นวันแรกที่ทางร้านข้าวมันไก่ได้เปิดการขายจึงทำให้มีคนมาเป็นเจ้าภาพเลี้ยงจำนวน 100 ห่อ  และผู้สื่อข่าวถามว่าขายในราคา 10 บาทได้กำไร มากน้อยแค่ไหนทางด้านเจ้าของร้านได้เผยกับผู้สื่อข่าวว่าช่วงก่อนทำงานโรงงานค่าแรงน้อยจึงปรึกษากับสามี จึงได้ชวนกันมาขายข้าวมันไก่ในราคา 10 บาทซึ่งได้บอกกับผู้สื่อข่าวว่าตนเองมีสาขาแรกตั้งอยู่หน้ามอเกษตรกำแพงแสนถนนสายนกฮูกหน้ามอเกษตรเพื่อขายให้กับนิสิต นักศึกษาในราคา 10 บาทและให้กับชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงจึงทำให้มีนิสิตและชาวบ้านมาซื้อข้าวมันไก่ภายในร้านเป็นจำนวนมากและทางด้าน เจ้าของร้านได้มาเปิดอีกสาขาซึ่งอยู่เส้นถนนกำแพงแสนบางเลนก่อนถึงไฟแดงบ่อน้ำจืดวันนี้จึงทำให้มีชาวบ้านมารับข้าวมันไก่จากผู้ใจดีจำนวน 100 ห่อ ในวันเปิดร้านโดยมีชาวบ้านละแวกใกล้เคียงมากันและต่อคิวทางด้านเจ้าของร้านบอกกับผู้สื่อข่าวว่าขายข้าวมันไก่มาหนึ่งปีและขายในราคา 10 บาทถึงกำไรน้อยช่วงนี้เศรษฐกิจเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ได้เห็นว่ามีชาวบ้านตกงานและมีรายได้น้อยจึงขายข้าวมันไก่ในราคา 10 บาทถึงกำไรน้อยแต่ก็พออยู่ได้เพื่อชาวบ้าน  และยังบอกว่าถ้าใครผ่านไปผ่านมาที่ไม่มีเงินก็สามารถมาทานฟรีได้ โดยทางด้านผู้สื่อข่าวถามเจ้าของร้านว่าได้สูตรมายังไงเจ้าของร้านบอกว่าได้คิดค้นสูตรข้าวมันไก่มาเอง และทางด้านผู้สื่อข่าวได้ถามกับชาวบ้านว่ารสชาติเป็นยังไงสำหรับชาวบ้านที่เคย ซื้อที่หน้ามอเกษตรบอกว่ารสชาติอร่อยไก่นุ่มข้าวก็อร่อยถึงติดใจวันนี้ทราบข่าวมีคนแจกข้าวมันไก่จึงได้แวะมา เปิดร้านเวลา 17.00 ถึง 21.00 น.

รมว.ยุติธรรม ยัน รัฐบาลให้ความสำคัญการศึกษาขั้นพื้นที่ เรียนฟรีไม่ต่องเสียเงิน

วันอาทิตย์ ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 ณ ฟุตบอล โรงเรียนโพธิ์คีรีราชศึกษา อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็น ประธานในพิธี  งานคืนสู่เหย้า ชาวโพธิ์คีรีฯ ตอน "แค แสด คืนถิ่น" เพื่อสร้างสัมพันธ์อันดีและสร้างเครือข่ายระหว่างศิษย์เก่า คณะครูและบุคลากรโรงเรียนโพธิ์คีรีราชศึกษา และ จัดหาทุนการศึกษาให้กับนักเรียน สร้างและต่อเติมห้องน้ำหลังอาคารหอประชุม 
โดย นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจ.ปัตตานี นายบุญสม ทองศรีพร้าย ประธานศิษย์เก่าโรงเรียนโพธิ์รีราชศึกษา หัวหน้าส่วนราชการ ศิษย์เก่าและประชาชนในพื้นที่กว่า 760 คน ร่วมกิจกรรม 
สำหรับ โรงเรียนโพธิ์คีรีราชศึกษาเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งมาเมื่อวันที่ 17 เดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2504 โดย
ใช้ชื่อเดิมว่า "โรงเรียนโคกโพธิ์" มีนายเนื่อง สิงหโฆษิต เป็นครูใหญ่ ต่อมาเมื่อปีพ.ศ. 2512 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนโพธิ์คีรีราชศึกษา" นับตั้งแต่ได้มีการก่อตั้ง
โรงเรียนโพธิ์คีรีราชศึกษามาเมื่อปี 2504 จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 63 ปี 
    พันตำรวจเอก ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม   กล่าวว่า  วันนี้ พบว่า กลุ่มผู้ติดยาเสพติด เกือบ 80 เปอร์เซ็น ไม่ได้เรียนหนังสือและมีการศึกษาต่ำ ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเรือนจำอยู่ 4 เรือนจำ คือเรือนจำ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และเบตง พบว่าระดับการศึกษาต่ำกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐานคือ ต่ำกว่า ม. 6   ถึง 82 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าคนไม่มีการศึกษาต้องไปอยู่ในเรือนจำ คนไม่มีการศึกษาก็ไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด  อันนี้เป็นข้อมูลน่าเชื่อถือ วันนี้การศึกษาขั้นพื้นฐาน รัฐบาลให้เรียนฟรี ถึงจบ ม.6 โดยไม่ต้องเสียเงิน รัฐบาลจ่ายให้คนทุกคน ไม่ต้องการให้ใครมีการศึกษาต่ำกว่าม.6 

น้ำลด”สันดอน”ผุดกลาง”คลองอาทิตย์” ชาวบ้านเดือด ร้อง ผู้ว่าฯ สส และ ปปช. ให้ตรวจสอบ เพื่อ “ชลประทาน” เพราะเชื่อว่ามีการ “ทุจริต” ในการการ ขุดลอก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสภาวะภัยแล้งที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในจังหวัดสงขลา ทำให้น้ำใน แม่น้ำลำคลอง แห้งขอด เป็นจำนวนมากในหลายท้องที่ โดยเฉพาะใน 4 อำเภอของคาบสมุทร สทิงพระ คือ อ.สิงหนคร .สทิงพระ กระแสสินธุ์ และ ระโนด ซึ่งต้องอาศัยน้ำในคลองอาทิตย์ ( คลองพลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ) ในการทำการเกษตร ซึ่งขณะนี้น้ำในหลายช่วงแห้งขอด เช่นในพื้นที่ของ อ.สทิงพระ ตั้งแต่ตำบลบ่อแดง ต.คูขุด ลงไปถึง  ทำให้เห็นสันดอนโผล่ขึ้นมา เป็นจำนวนมาก รวมทั้งยังพบว่า แสดงให้เห็นว่าในการ  จ้างผู้รับเหมา ของ สำนักงานชลประทาน ที่รับผิดชอบโครงการดังกล่าว ไม่มีการ ควบคุมตรวจสอบ ที่ดีพอ ทำให้การ ท้องคลอง ไม่มีความเสมอ มี โคก มี สันดอน มากมาย ที่เป็นอุปสรรคในการไหลของน้ำ และชาวบ้านในพื้นที่ยังพบว่า ใน สะพาน หลายแห่ง ไม่มีการ ขุดลอก ให้มีความเสมอกับ ท้องคลอง จึงทำให้น้ำไหลไม่ได้เป็นช่วงๆ สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน ที่เป็นเกษตรกร ในหลายตำบลที่คลองอาทิตย์แห้ง ขาดน้ำในการใช้ทำการเกษตร และ อื่นๆ
ชาวบ้านในพื้นที่ ที่ได้รับความเดือดร้อน กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี มีการ ขุดลอกที่ถูกต้อง โดยท้องคลอง ไม่มีเป็นโคก เป็น ดอน และมีการขุดลอกคลองใต้สะพาน ปัญหาที่น้ำแห้งขอดเป็นบางช่วงบางตอนก็อาจจะไม่เกิดขึ้น หรือไม่รุนแรงอย่างในปัจจุบัน และ คลองอาทิตย์ในช่วงที่ผ่านใน อ.กระแสสินธุ์ และ อ.ระโนด ยังมีน้ำอยู่ แม้จะไม่มาก แต่ไม่แห้งขอด จนหญ้าขึ้น และ วัวลงไปเดินได้ อย่างในพื้นที่ของ อ.สทิงพระ สิ่งที่ชาวบ้านพบเห็นหลังเกิดภาวะน้ำแห้ง ทำให้เห็นว่า ปัญหาของ คลองอาทิตย์ เกิดจากการ ทุจริต คอร์รับชั่น ในการขุดลอก และ เชื่อว่า สันดอน ที่โผล่ออกมาประจาน หน่วยงานที่รับผิดชอบในการขุดลอก ไม่ได้มีเฉพาะในพื้นที่ของ อ.สทิงพระ ถ้าน้ำแห้งหมดทั้งคลอง ในพื้นที่ของ อ.ระโนด อาจจะมีสภาพที่หนักกว่าที่ สทิงพระ ด้วยซ้ำ
ชาวบ้านผู้เดือดร้อน กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า สิ่งที่ชาวบ้านต้องการในขณะนี้คือ หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ ชลประทาน จะต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือการ ขุดลอก สันดอน และ ใต้สะพาน ที่ โผล่ขึ้นมา และที่ ขวาง ทางน้ำ เพื่อให้น้ำสามารถไหลได้ตลอดทั้งลำคลอง เพื่อแก้ปัญหาการขาดน้ำของเกษตรกร และต้องมีการเอาผิดกับหน่วยงานที่รับผิดชอบในการ ขุดลอก คลองอาทิตย์ ที่เห็นแล้วว่ามีความ ผิดปกติ  เรื่องนี่เป็นเรื่องใหญ่ ที่ต้องมีการ ตรวจสอบ สายคลองอาทิตย์ทั้งสาย เพื่อหาผู้รับผิดชอบ เพราะจากสภาพที่เห็น ชาวบ้านมั่นใจว่า มีการ ทุจริต เกิดขึ้น อย่างแน่นอน
ขอเรียกร้องไปยัง ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และ สำนักงาน ปปช. สงขลา รวมทั้ง สส.เขต 4 พรรคพลังประชารัฐ ใน จ.สงขลา ที่มี ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า เป็น รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ดูแลกรมชลประธาน ดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น  ซึ่งไม่เฉพาะในเรื่องของ คลองอาทิตย์ เพียงแห่งเดียว  เพราะโครงการอื่นๆ ของกรมชลประทาน ในพื้นที่ มีการร้องเรียน และมีข่าวฉาวโฉ่ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา

เกี่ยวกับเรื่องของ คลองอาทิตย์ ที่มี สันดอนโผล่ขึ้นมากมากมาย หลังน้ำแห้งขอด นายไชยยงค์ มณีรุ่งสกุล นายกสมาคมนักหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ กล่าวว่าประชาชนผู้ที่ต้องการให้คณะกรรมาธิการฯ ทำการตรวจสอบโครงการนี้ สามารถร้องเรียนไปได้ยัง คณะกรรมาธิการฯเพื่อให้มีการตรวจสอบได้อีกทางหนึ่ง นอกจากการร้องเรียนไปยัง สำนักงาน ปปช.จังหวัดสงขลา และทราบว่า เกี่ยวกับเรื่อง ภัยแล้ง ที่สร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรในพื้นที่ คาบสมุทรสทิงพระ นายสมนึก พรหมเขียว ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ได้ลงพื้นที่เห็นสภาพปัญหาของคลองอาทิตย์ และได้สั่งการให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทำการแก้ปัญหาเร่งด่วนแล้ว แต่ก็อยากจะให้มีการตรวจสอบเรื่องถึงความไม่ชอบมาพากลในการ ขุดลอก ว่ามีการ ทุจริต หรือไม่

ศรีสะเกษ พายุฤดูร้อนถล่มภูสิงห์ 3 ตำบล 12 หมู่บ้านพังยับเยินต้นไม้ฉีกขาดโค่นทับบ้านเรือนของชาวบ้าน ขณะที่นายอำเภอภูสิงห์เร่งเข้าไปให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนแล้ว


เมื่อวันที่ 6 พ.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ ต.ห้วยตามอญ อ.ภูสิงห์  จ.ศรีสะเกษ จ่าเอกสมควร  สิงห์คำ  นายอำเภอภูสิงห์ ได้สั่งการให้ นายสรศิริ   จันดีบุตร  ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง อ.ภูสิงห์ นำเจ้าหน้าที่ อส.อ.ภูสิงห์  ร่วมกับนายก อบต.ห้วยตามอญ กำนัน ต.ห้วยตามอญ ผู้ใหญ่ และจิตอาสา ได้ร่วมกันเข้าไปสำรวจความเสียหายและให้ความช่วยเหลือชาวบ้านที่บ้านเรือนถูกพายุฤดูร้อนพัดถล่มอย่างรุนแรงนานประมาณ 30 นาที  พายุที่พัดถล่มอย่างรุนแรงได้ส่งผลให้ต้นไม้ขนาดใหญ่ฉีกขาดโค่นล้มลงมาทับบ้านเรือนของชาวบ้านได้รับความเสียหาย บ้านเรือนของชาวบ้านโดนลมพายุพัดถล่มลงมากองอยู่กับพื้น หลังคาบ้านเรือนของชาวบ้านที่เป็นสังกะสีโดนลมพายุพัดปลิวไปไกลหลายสิบเมตร ซี่ง นายสรศิริ จันดีบุตร ได้นำคณะเจ้าหน้าที่เข้าไปเร่งทำการช่วยเหลือชาวบ้านโดยการตัดต้นไม้ที่โค่นล้มทับบ้านเรือน ช่วยเหลือเก็บข้าวของทรัพย์สินต่าง ๆ  พร้อมทั้งเข้าไปทำการซ่อมแซมหลังคาบ้านเรือนของชาวบ้านให้สามารถใช้การได้ตามปกติอย่างเร่งด่วน
จ่าเอกสมควร  สิงห์คำ  นายอำเภอภูสิงห์  กล่าวว่า  เมื่อเวลาประมาณ 17.35 น. วันที่ 5 พ.ค.2567 ได้เกิดเหตุลมพายุฤดูร้อนพัดต้นไม้หักโค่นทับบ้านเรือนที่พักอาศัยและคอกสัตว์ของชาวบ้านในเขตพื้นที่ อ.ภูสิงห์ได้รับความเสียหาย จำนวน 3 ตำบล 12 หมู่บ้าน ซึ่งจากการสำรวจความเสียหายในเบื้องต้นพบว่า  
      ต.ห้วยตามอญ จำนวน 8 หมู่บ้าน ที่อยู่อาศัยและคอกสัตว์เสียหาย รวม 25 หลังคาเรือน ต.ละลม จำนวน 2 หมู่บ้าน ที่อยู่อาศัยและคอกสัตว์เสียหาย 10 หลังคาเรือน  และ ต.ห้วยตึ๊กชู จำนวน 1 หมู่บ้าน ที่อยู่อาศัยและคอกสัตว์เสียหาย 15 หลังคาเรือน รวมแล้ว 50 หลังคาเรือน  
ซึ่งตนได้สั่งการให้ฝ่ายปกครองและสมาชิก อส.ร่วมกับ อบต.ในพื้นที่ร่วมกันตัดต้นไม้ที่ล้มทับบ้านเรือนประชาชนและทับถนนออกเพื่อเปิดการสัญจรตามปกติพร้อมเร่งรัดสำรวจความเสียหายของบ้านเรือนเพื่อดำเนินการให้การช่วยเหลือตามขั้นตอนต่อไป///////

ภาพ / ข่าว ศิริเกษ  หมายสุข ผู้สื่อข่าวประจำ จ.ศรีสะเกษ