วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

พ.ต.อ.ทวี ประกาศ จะพยุงการดำรงชีวิตของชาวนราธิวาสให้ลืมตาอ้าปาก และลบคำสบประมาณว่าคนนราธิวาส ยากจนที่สุดของประเทศ

วันจันทร์ ที่ 22 กรกฏาคม เวลา 09.00 น -10.30 น พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ประชุมร่วมนายอำเภอระแงะ ตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส ทีมงานยุติธรรมจังหวัดนราธิวาส ตัวแทน ศอ.บต ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำท้องถิ่น นราธิวาส ได้นำคณะ เดินทางต่อยังไปโรงเรียนดารุสลาม เขตเทศบาลตำบลตันหยงมัส อ.ระแงะ เพื่อไปร่วมงานการจัดงานสมทบทุนการก่อสร้างอาคารต่วนฆูรูฮัจญีเปาะซู ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาที่ถือว่าใหญ่ที่สุดของ จ.นราธิวาส


 ในโอกาสนี้ พ.ต.อ.ทวี รมว.ยุติธรรม ได้กล่าวชื่อชมการศึกษาของโรงเรียนดารุสสลาม ที่เป็นสถานที่แห่งแรกสมัยเป็นเลขาธิการ ศอ.บต ได้มาเยี่ยมโรงเรียนแห่งนี้เป็นแห่งแรก ยังจำได้ว่าท่านฟัครุดดีน บอตอ ผู้บริหารโรงเรียนได้กล่าวว่า การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องให้การศึกษานำการเมืองการทหาร โดยเฉพาะโรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนที่จัดการศึกษาดีมีคุณภาพ มีศิษย์ที่ประสบความสำเร็จมากมาย ที่ศึกษาต่อในประเทศและต่างประเทศ การศึกษาระหว่างโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา กับโรงเรียนของรัฐบาล แม้เงินอุดหนุนให้โรงเรียนเอกชนน้อยกว่าโรงเรียนของรัฐบาลอยู่มาก ถือว่าเป็นความเหลื่อมล้ำการการส่งเสริมการศึกษา แต่ประชาชนก็นิยมส่งลูกหลานให้เรียนโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา เพราะสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ การศึกษามีความสำคัญมาก เป็นเครื่องชีอนาคตที่ดีของประเทศ ยกตัวอย่างในเรื่อนจำจังหวัดนราธิวาส มีผู้ต้องราชทัณฑ์ ทีถูกขั้งมากกว่า 4,000 คน พบว่ามากกว่า 80% เป็นผู้ไม่ได้รับการศึกษา มีการศึกษาระดับประถมศึกษา หรือมีการศึกษาดับมัธยมต้น ที่ต่ำกว่าการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ ม 6 ที่รัฐบาลให้เรียนฟรี ซึ่งผู้มีการศึกษาต่ำส่วนใหญ่จะเป็นผู้กระทำผิดยาเสพติดอีกด้วย 


ดังนั้นถือว่าโรงเรียนแห่งนี้ได้สร้างคุณประโยชน์มากมาย เพราะนอกจากสร้างอนาคตที่ดีแล้วผู้ที่จบการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้ไม่มีการเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ผมมีความเชื่อมั่นเช่นเดียวกับบาบอที่การแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ และการแก้ปัญหาความยากจน จะต้องแก้ที่การศึกษา โดยส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ และเป็นการศึกษาที่รัฐสนับสนุนให้เรียนฟรี ผมในฐานะรัฐบาล พยายามที่จะพยุงการดำรงชีวิตของชาวนราธิวาสให้ลืมตาอ้าปาก และลบคำสบประมาณว่าคนนราธิวาส ยากจนที่สุดของประเทศให้จงได้



พิษณุโลก คนยากไร้ ยังเพียบ แห่รับบัตรจองคิว ไว้รอรับแจกข้าวสาร 5 กิโลกรัมในวันเกิดเทพเจ้ากวนอู ปี 67 ปฎิทินจีนระบุ จันทร์ 29 ก.ค. 67

นายกสมาคมฮากา ลั่น พร้อมแจกข้าวเกือบ 2 พันชุด หากใครประสงค์ทำบุญร่วม เชิญบริจาคที่สมาคมฮากก หลังตลาดโคมะตูม 

วันนี้ 22 กรกฏาคม 67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  มีประชาชนจากทั่วสารทิศ ล้วนเป็นคนฐานะไม่ดี มานั่งรอคิว ที่สมาคมฮากกา หลังตลาดโคกมะตูม อ.เมือง ตั้งแต่เช้าเพื่อรอเจ้าหน้าที่แจกบัตรคิว โดยตลอดทั้งวัน คนทุกสถานะต่างมีคนมานั่งรอคิว เพื่อยื่นความจำนงเพื่อขอรับบัตรคิว ไว้สำหรับแลก ข้าวสารเพื่อยังชีพในวันที่ 29 กรกฎาคม 67 คือ 1 บัตรต่อ 1 ถุง (จำนวน 5 กิโลกรัม) 


นายยุ่นถิน ก่อวุฒิพงษ์ (เฮีย อ๋า)  นายกสมาคมฮากกา พิษณุโลก เปิดเผยว่า ผู้คนจำนวนมากอาจเรียกได้ว่า ผู้ที่มีฐานะไม่ดี จึงมารอรับบัตรคิวเพื่อรับข้าวสารวันที่ 29 ก.ค.นี้  ถือเป็นวันสำคัญ คือ วัดเกิดเทพเจ้ากวนอู ซึ่งได้แจกข้าวทุกปี สมาคมฮากา เริ่มแจกข้าวแต่ปี 2558 แต่ละปี แจกข้าวสารจำนวนไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับว่า มีผู้บริจาคมากน้อยเพียงใด ปีที่ผ่านมาจัดซื้อข้าวสารจำนวน 2,400 ชุด สำหรับปีนี้ วางแผนไว้ 1,600-1,800 ชุดเป็นอย่างน้อย หากมีผู้บริจาคข้าวมาอีก ก็จะนำไปแจกเพิ่มได้ ประชาชนทั่วไปสามารถบริจาคข้าวสาร ณ.ศาลเทพเจ้ากวนอู หรือ มูลนิธิประชาพัฒนา บริเวณ ถนนสุรงค์เดชะ หลังตลาดโคกมะตูมได้ทุกวัน ก่อนวันเกิดเทพเจ้ากวนอู  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หนังสือสามก๊กระบุ ตัวตน”กวนอู”เป็นยอดขุนพล ซื่อสัตย์ กตัญญู กล้าหาญ หลังได้เสียชีวิตลงได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้า   สำหรับหลักฐานยืนยันวันเกิด”กวนอู”ยุคสมัยพันปีผ่านมาคงยาก แต่ปัจจุบันศาลเจ้ามักจัดงาน "วันคล้ายวันเกิดของกวนอู" อาจไม่ตรงกัน ลัทธิเต๋าระบุว่า กวนอูเกิด 24 เดือน6 บางก็"13เดือน5"ตามปฏิทินจีน ส่วนหลักฐานประวัติศาสตร์ระบุ 22 เดือน 6 ปี ค.ศ.160 ปฏิทินจีน 

คำว่าปฏิทินจีนจึงไม่ตรงกับปฎิทินสากล จัดงาน “วันคล้ายวันเกิดเจ้าพ่อกวนอู” เปลี่ยนไปทุกปี กลายเป็นเหตุวันที่ชัดเจน ศาลเจ้าบางแห่งก็จัดงานวันเกิดทั้ง “กวนอู กวนเป๋ง จิวฉอง”ไปด้วยเลย ล่าสุดปฏิทินจีน ปี 2567 นี้ กำหนดวันคล้ายวันประสูติเทพเจ้ากวนอู (กว้านอี้กง) จันทร์ 29 กรกฎาคม 67 (ตรงกับ วัน 24 เดือน 6)