วันพฤหัสบดีที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

จ.อุตรดิตถ์ โรงเรียนเทศบาลหัวดง อ.ลับแล นายอำเภอ เปิดตลาดนัดนวัตวิถี กระตุ้นการท่องเที่ยวชุมชน ประจำปี 2567

.      วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 17.00 น. ณ.โรงเรียนเทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) นายภูริวัจน์ โชตินพรัตน์ นายอำเภอลับแลเป็นประธานเปิดงานตลาดนัดนวัตวิถี ของดีหัวดง ครั้งที่ 6 โดยมีจ่าสิบเอกธวัชชัย กาวีละ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลหัวดง  และ นางรัชดาภรณ์ พรมจุ้ย ผอ.โรงเรียน เทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร) กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการจัดงาน
พร้อมด้วยมีนางสุภวดี โชตินพรัตน์ นายกกิ่งกาชาด อำเภอลับแลและ ข้าราชการ คณะครูนักเรียนโรงเรียน เทศบาลหัวดง (ป.ฟักอังกูร)ประชาชน ตลอดถึงผู้นำสินค้ามาร่วมจำหน่ายภายในงาน จำนวนมาก 
สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ เป็นการนำเอาของดีตามวิถีดั้งเดิมมาจัดในรูปแบบผสมผสานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยกำหนดแนวคิดการจัดงานคือ "นุ่งผ้าไทย สะปายถุงย่าม มาช้อป ชม ซิมของกิ๋น ของไจ้บ้านหัวดง"  ซึ่งตำบลแม่พูล เป็น 1 ใน 8 ตำบลของอำเภอลับแล ประกอบด้วย 10 ชุมชน 7 หมู่บ้าน ภายใต้การดูแลปกครองของเทศบาลตำบลหัวดงโดยกิจกรรมต่าง ๆ ได้แสดงถึงพลังของประชาชนทุกกลุ่มทุกวัย ศักยภาพของผู้นำท้องถิ่นท้องที่ในการประสานความร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งเพื่อสืบสานรักษาวัฒนธรรมประเพณีพื้นถิ่นและวิถีพื้นบ้าน ตามนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น/กระทรวงมหาดไทยที่ใช้โรงเรียนเป็นฐานในการพัฒนาท้องถิ่น ให้เกิดเป็นภาพรวมของการนำเสนอความโดดเด่นในเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของวิถีชีวิตผู้คนและบริบทของพื้นที่
ด้านนายอำเภอลับแลกล่าวว่า  การจัดงานในครั้งนี้ เป็นการจุดประกายให้เกิดภาพความสำเร็จที่ยั่งยืนในการพัฒนาท้องถิ่น ท้องที่ในด้านต่าง ๆ ของหัวดง ตำบลแม่พูลและทุกพื้นที่ในอำเภอลับแล และในอนาคตจะเห็นถึงความสำเร็จในคุณภาพชีวิตที่สมบูรณ์แบบของชุมชนที่นี่ และสิ่งที่น่ายินดีคือ จังหวัดอุตรดิตถ์เป็น 1 ใน 4 จังหวัดนำร่องของไทยที่ได้รับการประกาศเป็นเมืองแห่งการเรียนรู้ของยูเนสโก สะท้อนให้เห็นภาพการขานรับนโยบายที่สอดคล้องกัน อีกทั้งเป็นโอกาสให้นักเรียน ผู้ปกครองชุมชน และผู้เกี่ยวข้องได้ร่วมมือกันสร้างความรัก ความสามัคคี การประสานความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันทุกภาคที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาด้านการศึกษา คุณภาพชีวิต และดำรงไว้ซึ่งวิถีวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนให้ก้าวหน้าต่อไป
//นาคา คะเลิศรัมย์/รายงาน

ศรีสะเกษ พระศรีญาณวิเทศกับเม้ก อภิสิทธิ์ รับโล่รางวัลเพชรศรีพฤทเธศวร

.       ซึ่งสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมได้มีการสรรหาและคัดเลือกบุคคลที่สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช 2567
.     เมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมศรีพฤทเธศวรเธียเตอร์ ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ รศ.ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมรางวัล "เพชรศรีพฤทเธศวร"ประจำปี พ.ศ. 2567  ซึ่งสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมยกย่องเชิดชูเกียรติผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำปี พ.ศ. 2567 ได้จัดพิธีนี้ขึ้น โดย รศ.ดร.ประกาศิต ได้ถวายโล่เชิดชูเกียรติแด่ พระศรีญาณวิเทศ (พิมล ญาณวิมโล ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำมิชิแกน เมืองสเตอริงไฮด์ รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา และเจ้าอาวาสวัดป่าพิมลมังคลาราม  สาขาศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี  และมอบโล่เชิดชูเกียรติให้กับผู้ที่ได้รับรวมทั้งสิ้น 7 ราย หลังจากพิธีมอบโล่เชิดชูเกียรติแล้ว ได้มีการแสดงคอนเสริต์ของ นายอภิสิทธิ์ จันทะเสน หรือเม้ก  อภิสิทธิ์  ศิลปินนักร้องชื่อดังชาวศรีสะเกษ ที่ได้รับรางวัล สาขา ศิลปะการแสดง ซึ่งได้มีการมอบเงินจำนวน 10,000 บาทเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษด้วย โดยมี ผศ.ดร.อาสนะ เชิดชู  ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม เป็นผู้กล่าวรายงาน และนำคณะอาจารน์ น.ศ.มาให้การต้อนรับและร่วมพิธีจำนวนมาก 
ผศ.ดร.อาสนะ เชิดชู  ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม กล่าวว่า  สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการสรรหาและคัดเลือกบุคคลที่สมควร ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมรางวัล "เพชรศรีพฤทเธศวร" จำนวน 7 รายด้วยกัน ได้แก่ 1.พระศรีญาณวิเทศ (พิมล ญาณวิมโล ป.ธ.9)  เจ้าอาวาสวัดปากน้ำมิชิแกน เมืองสเตอริงไฮด์ รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา และเจ้าอาวาสวัดป่าพิมลมังคลาราม  สาขาศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณี 2.นายประธาน ตันรุ่งเรืองกิจ เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส กรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช  สาขาอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  3.นางยุวดี มีบุญ  วัฒนธรรม จ.นครพนม สาขา ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม 4.นายอภิสิทธิ์ จันทะเสน หรือเม้ก  อภิสิทธิ์  ศิลปิน นักร้อง สาขา ศิลปะการแสดง 5. นายตรัยเทพ ศรีสุข ครูผู้ช่วย โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ สาขา ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม  6. นายอนุชิต ผู้มีสัตย์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม สาขา ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม 7. น.ส.เปรมฤทัย โลสันเทียะ นักวิชาการศึกษา สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม  สาขาทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม และมีผู้เข้ารับรางวัล "ภูมิราชภัฏ" ผู้มีผลงานเชิงประจักษ์ และทำคุณประโยชน์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อท้องถิ่น จำนวน 2 รายคือ 1. นางฉลวย ชูศรีสัตยา รางวัล "ภูมิราชภัฏ" ประจำปี 2566  2. นางแก่นแก้ว ใจแข็ง รางวัล "ภูมิราชภัฏ"ประจำปี 2567 โดยการดำเนินโครงการดังกล่าวเพื่อเป็นเกียรติและสร้างขวัญ กำลังใจ ให้แก่ผู้ที่ทำคุณประโยชน์ในการส่งเสริม สนับสนุน สืบทอด อนุรักษ์ พัฒนา เผยแพร่และมีผลงานดีเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมในสาขาต่าง ๆ
รศ.ดร.ประกาศิต อานุภาพแสนยากร รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กล่าวว่า  การจัดพิธีครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงการดำเนินงานตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมเพื่ออนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ดำรงรากเหง้าอันงดงามให้อยู่คู่กับประเทศไทย ซึ่งสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมได้มีการสรรหาและคัดเลือกบุคคลที่สมควร ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช 2567 เพื่อเป็นเกียรติและสร้างขวัญ กำลังใจ ให้แก่ผู้ที่ทำคุณประโยชน์ในการส่งเสริม สนับสนุน สืบทอดอนุรักษ์ พัฒนา เผยแพร่และมีผลงาน ดีเด่นด้านศิลปวัฒนธรรมในสาขาต่าง ๆ มาอย่างต่อเนื่อง/////


ภาพ / ข่าว  ศิริเกษ  หมายสุข ผู้สื่อข่าวประจำ จ. ศรีสะเกษ

ประจวบคีรีขันธ์ _ อำเภอทับสะแก เตรียมจัดกิจกรรม วิ่งกันดุ๊ (RUN KHAN DO)

      วันที่ 29 ก.พ. 67 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายราม สิงหโศภิษฐ์ นายอำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เชิญชวนชาวทับสะแก และใกล้เคียง ร่วมกิจกรรม “วิ่งกันดุ๊  (RUN  KHAN  DO)” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เป็นการวิ่ง หรือเดิน ออกกำลังกาย ที่ริเริ่มขึ้นที่อำเภอปราณบุรี เมื่อเย็น (วันที่ 28 ก.พ.ที่ผ่านมา ) โดยมี นายคมกริช เจริญพัฒนสมบัติ รองผวจ.ประจวบ คีรีขันธ์ เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อม นายสราวุธ ลิ้มอรุณรักษ์ นายกอบจ.ประจวบคีรีขันธ์ นายปรีดา สุขใจ ปลัดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ว่าที่พันตรีอภิญญา ศักดินันท์ นายอำเภอปราณบุรี ร่วมกิจกรรม  แล้วขยายกิจกรรมไปทุกอำเภอๆ ละ 1 ครั้ง ต่อสัปดาห์ รวม 8 อำเภอ 8 ครั้ง 8 สัปดาห์ ( 2 เดือน)  มีการรับธงวิ่งต่อๆ กันมาในแต่ละครั้งที่จัดกิจกรรม  โดยแต่ละอำเภอเมื่อรับธงมาแล้วก็มาจัดกิจกรรมในอำเภอของตนเอง กำหนดเส้นทางวิ่งเอง 
ลักษณะกิจกรรม -  เป็นการวิ่งหรือเดินออกกำลังกาย ไม่จำกัดอายุ เพศ อาชีพ เน้นให้มีความหลากหลายของผู้ร่วมกิจกรรม  ไม่เน้นชัยชนะ ไม่มีการแข่งขัน เป็นการส่งเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกาย โดยการวิ่ง หรือเดิน ให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหว เพื่อให้สุขภาพร่างกายมีความแข็งแรง  การแต่งกาย -  เน้นเสื้อสีเหลือง (สีประจำในหลวง ร.10) เนื่องจากปี 2567 เป็นปีแห่งการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 เริ่มวิ่งที่อำเภอปราณบุรี วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567  โดย นายราม สิงหโศภิษฐ์ นายอำเภอทับสะแก ได้ร่วมเดินทางเป็นประธานไปรับธงที่อำเภอปราณบุรีพร้อมชมรมนักวิ่งจากอำเภอทับสะแก เพื่อนำมาจัดกิจกรรมในอำเภอทับสะแก 
สำหรับเส้นทางการวิ่งอำเภอทับสะแก  จะจัดในวันที่ 6 มีนาคม 2567  ต่อจากอำเภอปราณบุรี   รวมพลพร้อมกันที่วัดทุ่งประดู่ เวลา 16.00 น.  เริ่มวิ่งจริง 17.00 น. (มีการวอร์มร่างกายเวลา 16.30 น.)  เริ่มสตาร์ท 17.00 น. วิ่งมาทางทุ่งนา ( ทางมาช่องขวาง )  มาข้ามสะพานแล้วออกตรงร้านอาหารประจวบเหมาะเลี้ยวซ้ายวนไป เลี้ยวซ้ายอีกครั้งที่ต้นโพธิ์ชุมชนชายทะเลบ้านทุ่งประดู่ ตรงไปจนถึงวัดทุ่งประดู่  (จุดสตาร์ท) ระยะทาง 5.5 กิโลเมตร 
กิจกรรมจะจบในเวลาประมาณ 19.30 น.  บนเวทีจะมีการแสดง 3 ชุดๆ ละ 10 นาที ต่อจากนั้นจะมีการมอบธงให้อำเภอที่จะจัดกิจกรรมเป็นอำเภอถัดไปคือ อำเภอสามร้อยยอด  ภายในบริเวณที่จัดกิจกรรมจะมีอาหารว่างโดยการสนับสนุนขององค์กรปกครองท้องถิ่นในอำเภอทับสะแก - ชมรมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านอำเภอทับสะแก - หัวหน้าส่วนราชการ -  เอกชน ฯ   เช่น แตงโม  ข้าวต้มปลา  ไข่ต้ม   กล้วยสุก ขนม  น้ำดื่ม ฯลฯ จึงประชาสัมพันธ์ผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมโดยพร้อมเพรียงกัน  (ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย)
/////////////////////////////////
ณัฐธภพ พันสาย    /    จ.ประจวบคีรีขันธ์    รายงาน    0649646443

ตลาดนัดชุมชนคนกำแพงแสน

ตลาดนัดที่ก่อตั้งเพื่อพ่อค้าแม่ค้าทุกท่าน  ผู้มีรายได้น้อย คนในชุมชนกำแพงแสน และระแวกใกล้เคียงค่ะ 
      พบกับ สินค้าอุปโภคบริโภค ของกินของใช้ ราคาถูก สะอาด ถูกหลักอนามัย ผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP ผลิตภัณฑ์เกษตร และสินค้าแฟชั่นตามกระแส
    ตลาดนัดอยู่ติดกับมหาลัย หอพัก ตลาดบ้านยาง มีคนพลุกพล่าน มีทั้งเด็กนักเรียน นักศึกษา พนักงานราชการ พนักงานบริษัท เป็นต้น
สนใจจองพื้นที่  สอบถามรายละเอียด โทร 091-885-6603   คุณเม

ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม ปตท.สผ. และ ปตท.สผ.อีดี จัดทำโครงการสนับสนุนเครือข่ายเยาวชนและชุมชน ร่วมอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมระดับอาเซียน ร่วมกับสมาคมมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ซานคาลอสประเทศฟิลิปปินส์

      โดยมี นางนูนุงร์ นูรวูลัน  กงสุล ประจำกรมการกงศุลอินโดนีเซีย จังหวัดสงขลา พร้อมด้วยนายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และนายวันชัย ปริญญาศิริ นายกเทศมนตรี เทศบาลนครสงขลา  เข้าร่วมฟังเยาวชนนำเสนอความคิดเห็นและแผนการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเกี่ยวกับคุณค่าที่เป็นสากลของจังหวัดสงขลา ในกิจกรรมโครงการสนับสนุนเครือข่ายเยาวชนและชุมชน ร่วมอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมระดับอาเซียน ณ ห้องนิทรรศการมรดกโลก ณ โรงสีแดง 
    นายอำนวย พิณสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า เป็นโอกาสที่ดีที่ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม ร่วมกับสมาคมมรดกวัฒนธรรมแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ SEACHA (Southeast Asia Cultural Heritage Alliance) จัดกิจกรรมเวิร์คช็อปของนักศึกษา  ภายใต้โครงการเพื่อสังคมด้านวัฒนธรรมของ (โครงกาสงขลาสู่เมืองมรดกโลก) ของ ปตท.สผ. และ ปตท.สผ.อีดี ในครั้งนี้ นับเป็นงานระดับนานาชาติที่มีประโยชน์แก่จังหวัดสงขลาเป็นอย่างมาก  จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้เชี่ยวชาญระดับนานาชาติ ร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้และระดมความคิดเห็นจากเครือข่ายอาจารย์และเยาวชนนักศึกษาจากหลายศาสตร์วิชา จากมหาวิทยาลัยรวม   6 แห่ง ได้แก่  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย  มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา และ  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เข้าร่วมกิจกรรมรวมทั้งอาจารย์และนักศึกษาจำนวนประมาณ 50 คน
การถ่ายทอดความรู้จากผู้เชี่ยวชาญระดับอาเซียน ก่อนส่งนักศึกษาลงพื้นที่สำรวจเมืองร่วมค้นหาคุณค่าความสำคัญและเอกลักษณ์ที่โดดเด่น หรือ (OUV) ของเมืองเก่าสงขลาและเมืองสิงหนคร นับว่าเป็นงานใหญ่ที่สำคัญ ซึ่งสอดคล้องตามคำสั่งจังหวัด ที่ให้จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาสงขลาสู่เมืองมกรดกโลก เพื่ออนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าสงขลาและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง ยกระดับสู่การเป็นเมืองมรดกโลก ร่วมกับการส่งเสริมเยาวชนและชุมชน ให้เกิดการเรียนรู้ และตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม 

รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา กล่าวว่า จากการร่วมรับฟังการนำเสนอของเยาวชนในหัวข้อคุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากลของจังหวัดสงขลา หรือ  OUV (Outstanding Universal Value) พลังชุมชนและเมืองมรดกที่ยั่งยืน เห็นได้ชัดว่ากิจกรรมในครั้งนี้ เกิดประโยชน์แก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเกิดเครือข่ายเยาวชนและนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในประชาสัมพันธ์ต่อสาธารณะชน สร้างการรับรู้ในการร่วมขับเคลื่อนสงขลาสู่เมืองมรดกโลก และรวมกันเป็นเครือข่ายอนุรักษ์เมืองเก่าตามหลักวิชาการต่อไป

ด้านนายวันชัย ปริญญาศิริ นายกเทศมนตรี เทศบาลนครสงขลา กล่าวว่า การเลือกเมืองเก่าสงขลาเป็นส่วนหนึ่งของการทำกิจกรรมในครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีมาก  เนื่องจากเมืองเก่าสงขลาประกอบด้วยย่านต่างๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ทางพหุวัฒนธรรมที่ซับซ้อน และมีความโดดเด่นไปพร้อมกัน ทั้งด้านสถาปัตยกรรม อาหารการกิน มีลักษณะเด่นเป็นย่านๆ เช่น ย่านมุสลิมบ้านบน ย่านคนจีนแถวถนนนางงาม และย่านวัดแถบถนนไทรบุรี ที่ผนวกอยู่ร่วมกันในขอบเขตกำแพงเมืองเก่า  

การอยู่รวมกันในพื้นที่เมืองเล็กๆ ที่มีความหลากหลายดังกล่าวได้หล่อหลอมให้คนในเมืองสงขลา มีการแลกเปลี่ยนถ่ายทอดส่งต่อวัฒนธรรมจนก่อเกิดวัฒนธรรมใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะสะท้อนออกมาเป็นอัตลักษณ์ของสงขลา ดังปรากฏในเรื่องอาหารการกิน เครื่องแต่งกายและสถาปัตยกรรม ที่สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่นนับร้อยปี ประกอบกับเทศบาลนครสงขลาได้มีกฎหมายปกป้องและคุ้มครองพื้นที่เมืองเก่า โดยการควบคุมประเภทของกิจกรรมในพื้นที่และความสูงอาคารที่ให้สูงไม่เกิน 9.50 เมตร  แสดงดึงความตั้งใจในการบริหารจัดการพื้นที่ และยังอยู่ระหว่างการเตรียมพัฒนาเพิ่มเติมในระยะต่อไป เพื่อให้สอดคล้องกับการเป็นเมืองมรดกโลก

ด้าน ดร.จเร สุวรรณชาติ รองนายกภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคม นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านมรดกทางวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรม กล่าวว่า กิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการและการค้นหาคุณค่าที่โดดเด่นเป็นสากลของจังหวัดสงขลา เพื่อให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ร่วมค้นหานำเสนอจุดเด่นสำคัญของเมือง พร้อมเวิร์คช็อปจัดการเส้นทางท่องเที่ยวที่เน้นสร้างจิตสำนึกด้านอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมในครั้งนี้  นอกจากจะเป็นครั้งแรกที่ความคิดเห็นของเยาวชนถูกนำเสนอให้ผู้บริหารระดับจังหวัดรับฟัง เพื่อประโยชน์ในการกำหนดนโยบายการพัฒนาที่สอดคล้องกับเยาวชนคนรุ่นใหม่ ที่จะเป็นผู้สานต่อการพัฒนาเมืองในอนาคต แล้ว และยังเป็นการจุดประกายสร้างการรับรู้แก่สาธารณะในวงกว้างผ่านมุมมองของเยาวชนคนรุ่นใหม่   และ จะเป็นการถ่ายทอดบทเรียนจากเมืองซีอัคประเทศอินโดนีเซียและเมืองซานคาร์ลอสประเทศฟิลิปปินส์ภายใต้ความร่วมมือ โครงการ  SEACHA อีกด้วย

ศึกษาธิการจังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับคณะกรรมการโครงการจุดจัดการเรียนรู้ฯ จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูพันธุ์เก่ากับครูพันธุ์ใหม่

         เมื่อวันที่ 28 ก.พ. 2567 เวลา 8.30 น. ที่ห้องประชุมวิมานเมฆ โรงแรมโมราจ อ.เมือง จ.พิษณุโลก คณะกรรมการโครงการจุดจัดการเรียนรู้ปัจจัยเสี่ยงในสถานศีกษา บุหรี่-สุราและยาเสพติดของจังหว้ดพิษณุโลก จัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูพันธ์เก่ากับครูพันธุ์ใหม่เพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และขยายผลในการขับเคลื่อนโครงการสถานศึกษาปลอดบุหรี่-สุราและยาเสพติด โดยมี ดร.ภัทรวรรธย์ นิลแก้วบวรวิชญ์ ศึกษาธิการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดงาน 
โดยภายในงานมีคณะครูผู้ขับเคลื่อนโครงการเข้าร่วมโครงการจำนวน 50 ท่าน มีนายพิษณุ เสามี (ดีเจหนุ่ม เมืองพรหม) จากสมาคมสื่อสารมวลชนพิษณุโลก นายประดับ สุริยะ จากศูนย์ข่าวปลอดควัน และเป็นกรรมการสมาคมสื่อฯ เข้าร่วมงานและทำข่าวประชาสัมพันธ์ทางสื่อวิทยุในเครื่อข่ายด้วย ซึ่งโครงการนี้สนับ สนุนโดยมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
//ประดับ สุริยะ สื่อศูนย์ข่าวปลอดควัน/กก.สมาคมสื่อสารมวลชนพิษณุโลก รายงาน//

ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานด้านกำลังพลของกองทัพภาคที่ 3

        วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 10.00  นาฬิกา ที่ พลเอก อุกฤษฎ์ บุญตานนท์ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกและคณะ ได้ประกอบพิธีวางพวงมาลาสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และพระรูปพระสุพรรณกัลยา ณ ลานพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และพระรูปพระสุพรรณกัลยา ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อำเภอเมืองจังหวัดพิษณุโลก และเข้ารับฟังการบรรยายสรุปผลการดำเนินงานด้านกำลังพลจากกองทัพภาคที่ 3 โดยมี พลโท นฤทธิ์ ถาวรวงศ์ แม่ทัพน้อยที่ 3 เป็นผู้แทน แม่ทัพภาคที่ 3 ให้การต้อนรับ
จากนั้นผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบกเดินทางไป หน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหารมณฑลทหารบกที่ 39 ค่ายสมเด็จพระเอกาทศรถ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เพื่อตรวจเยี่ยมการพัฒนาครูฝึก        และพบปะครูฝึก นักศึกษาวิขาทหาร เพื่อรับทราบปัญหาข้อขัดข้องและพูดคุยเพื่อสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ โดยมี พลตรี กฤษณะ ภู่ทอง ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 39 พร้อมด้วย พันโท อัศวพงศ์ สิงห์รักษ์ ผู้บังคับหน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหารมณฑลทหารบกที่ 39 ให้การต้อนรับ
   เดินทางไปบ้านพักกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 104 กรมทหารปืนใหญ่ที่ 4 ตรวจเยี่ยมโครงการตัดเย็บ เสื้อผ้าข้าราชการทหาร (ยั่งยืน) ที่ดำเนินการตามมาตรา 35 ของ จ่าสิบเอก อานนท์ แย้มวงศ์ประกอบอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้แก่กำลังพล ทบ.ที่ปลดพิการทุพพลภาพแลครอบครัว